Sunday, September 30, 2012

[2407] ฟังประวัติศาสตร์สามัญชนคนอเมริกัน (StoryCorps)




สวัสดีครับ

ผมไม่แน่ใจว่าที่อื่นเขามีหรือเปล่า แต่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เขามีเว็บไซต์ไม่หวังผลกำไร ชื่อ StoryCorps กิจกรรมหลักของที่นี่คือสัมภาษณ์และบันทึกเสียงเรื่องราวของสามัญชน โดยเริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2003 จนถึงปัจจุบัน มีไฟล์เสียงสัมภาษณ์กว่า 40,000 ครั้ง ๆ ละ 2 – 3 นาที และมีผู้ร่วมในการสัมภาษณ์กว่า 80,000 คน

เนื้อหาที่สัมภาษณ์จึงเป็นการบันทึกเรื่องราวชีวิตที่หลากหลาย  อันสะท้อนถึงชีวิต ความรู้สึก ความผูกพัน วัฒนธรรม ฯลฯ แต่ละเมื่อสัมภาษณ์จบ StoryCorps  ก็จะเบิร์นเสียงสัมภาษณ์ลงแผ่น CD มอบให้ผู้ร่วมสัมภาษณ์ 1 แผ่นและเก็บไว้ที่ American Folklife Center  ห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันอีก 1 แผ่น จนอาจจะกลายเป็นห้องสมุดประวัติศาสตร์เสียงบอกเล่าที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศนี้


เว็บไซต์ของ StoryCorps  คือ http://storycorps.org/
เมื่อเข้าไปแล้วให้คลิกที่ Listen to stories  ที่คอลัมน์ซ้ายมือ
จะปรากฏเรื่องที่กลางหน้าให้ท่านคลิกฟัง 
-โดยที่แต่ละเรื่องนั้นขอให้ท่านคลิก  Read more… (ถ้ามีปุ่มนี้) หรือคลิกตัวเน้นดำที่เป็นโค๊ตคำพูดเด่นของเรื่อง
-คลิก LISTEN เพื่อฟัง (ถ้าต้องการดาวน์โหลดฟล์ mp3 ให้คลิกขวาที่ LISTEN และคลิกซ้าย Save link as…)
-คลิก TRANSCRIPT ที่คอลัมน์ขวามือเพื่ออ่านบทสัมภาษณ์ (เพื่อการฝึก listening  skill ผมขอแนะนำให้ฟังหลาย ๆ เที่ยวก่อน, และค่อยมาอ่านทำความเข้าใจ transcript, และกลับไปฟังโดยไม่ต้องอ่านตาม, ท้ายที่สุด ค่อยอ่านตามขณะที่ฟัง) (Note:เรื่องเก่า ๆ อาจจะไม่มี transcript ให้อ่าน)

เมื่อต้องการฟังเรื่องอื่น ๆ ทำได้ 2 วิธี
1.คลิก  MORE STORIES ที่มุมบนของคอลัมน์ขวามือ
2.ในช่องใต้ BROWSE BY CATEGORY  ให้คลิกประเภทของเรื่องที่ต้องการฟัง

มีอีก 1 ลิงค์ที่ท่านสามารถฟังและอ่านบทสัมภาษณ์ของ  StoryCorps

คำวิจารณ์ของผมต่อเว็บนี้ก็คือ StoryCorps เป็นแหล่งที่ดีสำหรับการฝึก listening skill โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำเนียงอเมริกันที่เป็นธรรมชาติ ที่บอกว่าเป็นธรรมชาติก็เพราะว่า ทั้งบทพูดและสำเนียงเขาไม่ได้เตรียมทำให้มันง่ายสำหรับคนที่จะศึกษาภาษาอังกฤษ เขาพูดตามปกติอย่างไร ตอนให้สัมภาษณ์เขาก็พูดอย่างนั้น

อีกอย่างหนึ่งที่เห็นชัดก็คือ นี่น่าจะเป็นลักษณะของสังคมตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งอเมริกัน ที่ผู้คนพยายามหาสถานที่บันทึกความมีตัวตนของเขาไว้ในประวัติศาสตร์  voice data เหล่านี้นอกจากสนองตอบต่อความรู้สึกของปัจเจกบุคคลแล้ว ยังเป็นแหล่งที่ใครก็ได้สามารถเข้าไปศึกษาจิตวิทยามวลชนในยุคสมัยหนึ่ง ๆ ได้เป็นอย่างดี

ผมไม่แน่ใจว่า ถ้าทำproject อย่างนี้ในเมืองไทยจะมีผู้สนับสนุนมากน้อยแค่ไหน ยิ่งถ้าสัมภาษณ์แล้วเปิดโอกาสให้คนเข้าไปฟังได้ ถ้ามีคนไม่พอใจ หรือไม่เห็นด้วยกับเสียงที่บันทึกไว้  จะกลายเป็นประเด็นให้ขัดแย้งไม่สิ้นสุดหรือเปล่า

พิพัฒน์
ไม่เบียดเบียน-มุ่งแบ่งปัน-มั่นเบิกบาน

No comments: