Monday, December 31, 2007

[432] เว็บ ‘อ่านข่าว-ฟังข่าว’ ง่าย ๆ

สวัสดีครับ
หลายครั้งที่ผมถูกขอให้แนะนำเว็บภาษาอังกฤษที่ง่าย ๆ ซึ่งผมก็มักจะแนะนำเว็บข่าว เพราะว่า
[1] การอ่านข่าว นอกจากได้พัฒนาภาษาอังกฤษแล้ว ยังได้ทราบเรื่องราวเหตุการณ์ปัจจุบันของประเทศไทยหรือของโลกอีกด้วย

[2] ศัพท์ข่าวเป็นศัพท์ร่วมสมัยที่คนใช้กันโดยทั่วไป การลงทุนจำศัพท์พวกนี้ไม่มีการขาดทุน เพราะได้ใช้อยู่เสมอ ในการฟัง – พูด – อ่าน – เขียน

[3] สามารถจดจำรูปแบบการแต่งประโยคหรือสำนวนไปใช้ได้ เพราะว่าผู้เขียนข่าวจะพยายามเขียนง่าย ๆ ให้เข้าใจได้ทันที เว็บไหนขืนเขียนยาก ๆ ไม่มีใครอยากเข้าไปอ่านหรอกครับ

และในจำพวกเว็บข่าวที่ง่ายนี้ ผมได้เลือกที่ง่าย ๆ มาเสนอท่านผู้อ่าน เป็นเว็บที่มีชื่อเสียงระดับโลกทั้งนั้นครับ



learningenglish BBC

Special English VOA

Breaking News English

Simple English News

SpotlightRadio.net

SpotlightRadio.net Links.php


เว็บที่ขอแนะนำ:
[A] อ่านเรื่องจริงที่น่าตื่นเต้นทั่วโลก เขียนโดยใช้ศัพท์ไม่เกิน 1000 คำ
Easy English true stories

[B] มีหลายสิ่งที่น่าสนใจ
http://www.learn-english-today.com/

พิพัฒน์

Friday, December 28, 2007

[431] ฝึกฟังเสียง พยัญชนะ - สระ ที่ใกล้เคียงกัน

สวัสดีครับ
ผมมีเพื่อนสนิทคนหนึ่ง แกกินอะไรอร่อยไปหมด แม้แต่อาหารที่ผมรู้สึกว่ารสแย่เต็มที ผมไม่แปลกใจที่เพื่อนคนนี้ปรุงอาหารไม่อร่อยเลย เพราะลิ้นของแกแยกไม่ออกระหว่างอร่อยกับไม่อร่อย (แต่ผมก็ชมแกว่า แกสุขภาพดี กินอะไรอร่อยหมด)

แล้วผมก็เคยได้ยินคนพูดว่า คนที่ร้องเพลงเพราะจะต้องมีประสาทหูที่ดี สามารถแยกเสียงร้องที่เพราะกับไม่เพราะ ผมมีรุ่นพี่คนหนึ่งแกสารภาพว่า แกแยกไม่ออกว่าเพลงไหนเพราะไม่เพราะ ถูกหรือไม่ถูกจังหวะ ผมไม่แปลกใจที่เพื่อนคนนี้ไม่เคยร้องเพลงอื่นเลยในชีวิต นอกจากเพลงชาติและเพลงสรรเสริญฯ

เมื่อเปรียบเทียบกับ 2 กรณีข้างต้น ผมเลยเดาเอาว่า ที่เราออกเสียงบางเสียงในภาษาอังกฤษไม่ถูกต้อง ผิด ๆ ถูก ๆ ก็เพราะเราแยกเสียงที่คล้ายกันไม่ออกนั่นเอง ยกตัวอย่างตัวผมเองนี่แหละ เสียง r กับ l, เสียง ch กับ sh บางทีฟังแล้วก็แยกไม่ออก แต่ที่ยังพูดกับฝรั่งรู้เรื่องก็เพราะอาศัยข้อความแวดล้อมประกอบ ทำให้สามารถเดาได้ว่าเขากำลังพูดคำว่าอะไร

ผมว่าการที่คนเราแยกเสียงที่คล้ายคลึงกันในภาษาต่างชาติไม่ค่อยออก เป็นเรื่องธรรมดาอย่างยิ่งเลยครับ ผมไปเจอฝรั่งคนหนึ่ง อยู่เมืองไทยมาหลายปี แถมจีบสาวไทย จะขอไปอยู่กินที่สหรัฐด้วยซ้ำ เพื่อนๆบอกว่า Mr. Carlton คนนี้พูดภาษาไทยเก่งมาก ฟังรู้เรื่องหมด ผมบอกว่า ขออนุญาตเล่นอะไรด้วยนิดนึงได้ไหม โดยบอกเขาว่า มีภาษาไทยที่ฟังยาก พูดยากอยู่ 3-4 ตัว คือ มวย(ฺBoxing) หมวย(Chinese girl), สวย(beautiful), ซวย( unlucky) แล้วผมก็ให้นาย Carlton แปลภาษาไทย 3-4 ประโยค ต่อไปนี้ สลับไปสลับมา คือ หมวยสวยมาก - หมวยซวยมาก - มวยสวยมาก - และ มวยซวยมาก ถามไป - ตอบมา อยู่ 2-3 ทีเท่านั้นแหละครับ Mr.Carlton ใบ้รับประทานเลยละครับ แยกไม่ออก

เพราะฉะนั้น ผมคิดว่า ถ้าจะฟังให้รู้เรื่อง เพื่อที่จะได้พูดถูกต้อง มีหลักเกณฑ์ที่ต้องยึดถืออยู่ 2 ข้อ เท่านั้น คือ
ข้อที่ 1
: ต้องฝึก ต้องฝึก และต้องฝึก
ข้อที่ 2: ถ้าฝึกแล้วยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร หรือรู้เรื่องได้เร็วไม่ทันใจ ให้ย้อนกลับไปอ่านข้อที่ 1 อีกครั้ง

ที่เว็บ http://www.english-online.org.uk/pronounce/pronounce.htm เขามีแบบฝึกหัดอยู่ 14 unit, แต่ละ unit เขาให้เราฝึกฟังพยัญชนะหรือสระที่มีเสียงคล้ายคลึงกัน ดังนี้ครับ

[unit 1:d - t], -----[unit2: p - d],
[unit3:p - b], -----[unit 4:v - b],
[unit 5:s - sh], ----[unit 6: s - z],
[unit 7: w - v], ----[unit 8: t - th],
[unit 9: e - a], -----[unit 10:th - s],
[unit 11: r - l],----- [unit 12: r - l],
[unit 13: ch - sh], -----[unit 14: u - a]

ในแต่ละ unit แบ่งออกเป็น 4 part คือ
Paer 1:
คลิกเพื่อฟัง คำที่ได้ยินเสียงจะเป็นสีแดง
Click Start to listen. The word which you hear is shown in red

Part 2:
เมื่อคลิก Play จะได้ยินเสียงคำศัพท์ ให้ท่านคลิกคำที่ได้ยิน, ถ้าต้องการฟังคำอื่น ให้คลิก Play อีกครั้ง
When you click Play you will hear a word. Click on the word you hear. To hear another word click Play again

Part 3:
คลิกเพื่อฟัง แล้วคลิกว่าได้ยินเสียงอะไร
Listen to whether you hear a _ or _ sound. Click the sound you hear

Part 4:
ฟังและคลิกวลีที่ได้ยิน
Listen and click the phrase you hear

เว็บนี้เป็นเว็บ basic แต่มีประโยชน์มากเลยครับ

พิพัฒน์
pptstn@yahoo.com

[430] ให้ Click Dict. ช่วยพัฒนาทักษะการอ่านของท่าน

สวัสดีครับ
บรรทัดสุดท้ายของข้ดเขียนในวันนี้ผมกะจะพูดว่า “ขอเชิญทุกท่านนำโปรแกรมฟรี ดิกชันนารี อังกฤษ – ไทย (My Buddy – Clicktionary) & ดิกชันนารี อังกฤษ – อังกฤษ (WordWeb) ไปใช้, ซึ่งใช้ได้ทั้ง online และ offline, ทั้งอ่าน Web และอ่านเอกสาร Word, ผมขอรับรองว่าทักษะในการอ่าน หรือ Reading Skill ของท่านจะดีขึ้นมากจนท่านก็แปลกใจตัวเอง ท้าท่านไม่ได้ผลผมยินดีให้ท่านต่อว่า ว่าผมเอาของไม่ดีมา ‘ขาย’”

แม้จะสรุปไม่กี่บรรทัดข้างต้น แต่เรื่องที่อยากจะคุยด้วยมีเยอะ ถ้าท่านมีเวลาและไม่ได้รีบไปไหน อยู่คุยกันหน่อยนะครับ

* * * * *


ในการที่จะเก่งภาษาอังกฤษ ทุกคนยอมรับว่าการอ่านสำคัญ ถ้าอ่านเก่งก็จะช่วยทำให้เราฟังเก่ง – พูดเก่ง – และเขียนเก่งตามไปด้วย

มีบางคนถามว่า ต้องเก่งขนาดไหนถึงจะ ‘พอ’ ผมตอบว่าวิธีวัดง่าย ๆ ที่สุดก็คือ ท่านสามารถอ่านหนังสือพิมพ์รายวัน Bangkok Post หรือ The Nation ได้รู้เรื่องใกล้เคียงกับอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาไทยหรือเปล่า ถ้าทำได้ก็ ‘พอ’ ถ้าทำไม่ได้ก็ยังไม่ค่อยพอ

ทำไมผมจึงตอบง่าย ๆ ดื้อ ๆ อย่างนี้ ขอให้เหตุผลอย่างนี้ครับ
1. ข้อสอบภาษาอังกฤษภาค Reading เข้าปริญญาโท หรือ ชิงทุนไปอบรมหรือดูงานเมืองนอก ก็ไม่ได้ยากไปกว่า Bangkok Post หรือ The Nation หรอกครับ ข้อสอบ Toefl จะยากกว่าก็อีกนิดหน่อยเท่านั้น
2. การตระเวณหาอ่านเรื่องราวต่าง ๆ ในโลกอินเตอร์เน็ต ถ้าอ่าน Bangkok Post หรือ The Nation ได้, โลกอินเตอร์เน็ตก็ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับท่านเลย
3. ผมเข้าใจว่าหนังสือพิมพ์เป็นแหล่งของเนื้อหาและภาษาที่ชาวโลกคุ้นเคยมากที่สุด การรู้เรื่องราวที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ ก็คือรู้เรื่องราวที่คนส่วนใหญ่เขารู้นั่นเอง แต่ถ้าท่านไปอ่านตำราวิชาการด้านเศรษฐกิจการคลัง ด้านฟิสิกส์ ด้านปรัชญา แล้วไม่รู้เรื่อง เพราะศัพท์มันยาก-เนื้อหามันยุ่ง ก็คงไม่มีใครว่าท่าน แต่หนังสือพิมพ์รายวันเป็นเรื่องต่ำสุดที่เราทุกคนต้องอ่านรู้เรื่อง ถ้าเราจะคุยกับชาวไทยทั้งประเทศรู้เรื่อง เราก็ต้องอ่านไทยรัฐ – เดลินิวส์ – มติชน – ผู้จัดการ ฯลฯ แต่ถ้าเราจะคุยกับชาวโลกรู้เรื่อง เราก็คงจะต้องอ่านข่าวรายวัน อย่าง Bangkok Post, The Nation, BBC, CNN หรือ Al Jazeera ฯลฯ

แต่..... แต่.... ทำอย่างไรจึงจะอ่านหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษให้รู้เรื่องล่ะ ?
จากประสบการณ์การอ่านของผม ผมว่ามันมีอยู่อย่างน้อย 3 ด่านที่เราต้องผ่านไปให้ได้ คือ
1. รู้ศัพท์ - ถ้าเดาไม่ออก และเป็นศัพท์สำคัญที่ต้องรู้ ก็หลีกหนีไม่พ้นที่จะต้องเปิดดิก
2. เลือกความหมายจากในดิก – ศัพท์บางคำมีตั้ง 5 – 10 ความหมาย ก็ต้องไล่ดูแหละครับว่า ความหมายใดที่ตรงกับเนื้อหาที่อ่าน
3. ตีความให้เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน – บางทีรู้ความหมายแล้ว ก็ยังอ่านไม่รู้เรื่องอยู่นั่นเอง ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าเรามีความรู้พื้นฐานในเรื่องนั้นน้อยเกินไป และสำหรับบางคนที่แกรมมาร์อ่อนเกินไป อาจจะตีความผิดพลาดก็ได้

จะเห็นว่าการอ่านให้รู้เรื่อง ให้เก่ง ให้เร็ว ไม่ใช่ของง่ายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นเรื่องเนื้อหาหนัก ใช้ศัพท์ยาก แต่งด้วยประโยคโครงยุ่ง ๆ

แต่เมื่อภาษาอังกฤษสำคัญนักสำหรับคนยุคใหม่ ยังไง ๆ ก็ต้องอ่านให้รู้เรื่อง


คราวนี้มาถึงจุดที่ผมต้องการจะพูดในวันนี้แล้วครับ
1. แม้คุณครูบางท่านจะสอนว่า ไม่ต้องไปเสียเวลาไปเปิดดิกทุกคำ เดา ๆ เอาบ้างก็ได้ จับประเด็นสำคัญให้ได้ก็พอแล้ว แต่ผมเห็นว่าจนแล้วจนรอดเราก็ต้องเปิดดิกครับ เพราะหลายครั้งที่เราเดาไม่ออก และบางเรื่องที่เราอ่าน เราถูกบังคับให้ต้องรู้เรื่องทั้งหมด ไม่ใช่เพียงรู้คร่าว ๆ
2. เมื่อผ่านการอ่านไปมากเข้า ๆ ผมได้ข้อสรุปว่า ดิกอังกฤษ – ไทยมีข้อจำกัดหลายอย่าง
- นับตั้งแต่เรื่องง่าย ๆ คือ คำศัพท์ในภาษาอังกฤษจำนวนมาก ไม่สามารถหาคำไทยมาเทียบแปลได้เด๊ะ ๆ เพราะความหมายมันเหลื่อมกันไม่มากก็น้อย แต่ผู้รู้ที่เรียบเรียงดิกก็ไม่สามารถแปลความหมายในลักษณะบรรยายได้ทุกคำศัพท์ เช่น เพราะจะทำให้ดิกหนาเกินไป เพราะฉะนั้น ศัพท์ภาษาอังกฤษหลายคำที่เราจำคำแปลสั้น ๆ เป็นภาษาไทย จึงทำให้เราเข้าใจนัยะเพียงคร่าว ๆ เท่านั้น
- การใช้ดิก “อังกฤษ – ไทย” ตลอดเวลา ทำให้เราเข้าใจเป็นภาษาไทย ซึ่งที่ถูกต้องแล้ว เมื่อเราอ่านภาษาอังกฤษและเข้าใจ เข้าใจก็คือเข้าใจ ไม่มีความจำเป็นต้องแปลความเข้าใจนั้นออกมาเป็นภาษาไทยในสมอง ถ้าเปรียบเทียบกับการพูด คนที่พูดคล่อง ๆ เป็นภาษาอังกฤษ ก็คิดเป็นภาษาอังกฤษ และพูดเป็นภาษาอังกฤษไปเลย ถ้าขืนต้องแปลเป็นภาษาไทยทุกครั้งที่ได้ยินฝรั่งพูด หรือเมื่อจะพูดอังกฤษต้องแต่งเป็นประโยคภาษาไทยก่อน อย่างนี้ไม่ทันกินครับ อย่างที่ผมเรียนแล้ว เข้าใจก็คือเข้าใจในภาษาแรกเลย คนไทยบางคนพูดได้หลายภาษา เช่น ทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมัน ตอนพูดคุยภาษาไหนก็เข้าใจเป็นภาษานั้น ไม่ต้องแปลเป็นภาษาไทยในสมองให้เสียเวลา

การพูดเป็นเช่นไร การอ่านก็เป็นเช่นนั้นแหละครับ และผมเชื่อว่า หลาย ๆ คนที่ทำข้อสอบ Reading ไม่ค่อยทัน ก็เพราะตอนอ่านข้อสอบต้องคิดเป็นภาษาไทยก่อนนี่แหละครับ

แต่,,, ท่านอาจจะบอกว่า อ้าว ! ก็เราคนไทยนี่ เราก็ต้องคิดเป็นภาษาไทย จะให้คิดเป็นภาษาอังกฤษ มันจะไม่ยากไปหน่อยหรือ ?

คำตอบของผม คือ ใช่ครับ ยาก แต่ถ้าทำได้ ก็จะเป็นประโยชน์มาก เพราะจะทำให้เราอ่านได้รวดเร็วขึ้น และเป็นพื้นฐานที่ดีมาก ๆ เมื่อเราต้องพูดและเขียน เพราะจะได้ทำเป็นภาษาอังกฤษไปเลย ไม่ต้อง ‘ร่าง’ เป็นภาษาไทยเสียก่อน

และผมขอบอกว่า ดิกชันนารี อังกฤษ – ไทย ช่วยให้เราอ่านภาษาอังกฤษได้ในระดับเริ่มต้น(คิดแปลเป็นภาษาไทย) แต่ดิกชันนารี อังกฤษ – อังกฤษ เท่านั้น ที่จะช่วยให้เราอ่านภาษาอังกฤษได้ในระดับที่สูงขึ้นไป (ไม่ต้องคิดแปลเป็นภาษาไทย)

ข้อความข้างต้นทั้งหมดนี้ผมเคยเอาไปคุยกับน้อง ๆ ก็ได้รับคำตอบว่า โอ้โอ ! แค่เปิดดิกภาษาไทยอย่างเดียวก็แทบตายแล้ว นี่จะให้เปิดดิกอังกฤษอีกเล่มนึง โอ๊ย ! ตายดีกว่า

ข้อเสนอของผมก็คือ ถ้าท่านอ่านจากหนังสือพิมพ์เล่ม ๆ ก็คงจะแทบตายอย่างที่ว่านั่นแหละครับ แต่ถ้าท่านอ่านจากอินเตอร์เน็ต ท่านก็จะมี ‘ตัวช่วย’ ที่ช่วยให้ท่านเบาแรงลงอย่างมากมาย

‘ตัวช่วย’ นี้ช่วยได้ยังไง? ช่วยอย่างนี้ครับ....
เมื่อท่านอ่านภาษาอังกฤษจาก web หรือเอกสาร word ไม่ว่าจะขณะต่อเน็ตหรือไม่ได้ต่อเน็ต และถ้าท่านพบคำศัพท์ที่ท่านจำเป็นต้องทราบความหมายแต่ไม่ทราบหรือไม่แน่ใจ ท่านก็คลิกที่คำศัพท์นั้น ก็จะมีหน้าต่างเล็ก ๆ แสดงคำแปล pop ขึ้นมา,

ท่านจะเลือกให้เป็นคำแปลแบบ อังกฤษ – ไทย, หรือแบบอังกฤษ – อังกฤษ ก็ได้ ถ้าท่านตั้งใจฝึกฝนโดยเลือกดูคำแปลแบบ อังกฤษ – ไทย ให้น้อยลง ๆ และใช้คำแปลแบบอังกฤษ – อังกฤษ ให้มากขึ้น ๆ ทักษะในการอ่านภาษาอังกฤษของท่านก็จะพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะภาระ 3 ข้อในการอ่าน คือ ข้อ 1) รู้ศัพท์ ข้อ 2) เลือกความหมาย และ ข้อ 3) ตีความทำความเข้าใจ จะเหลือเพียงข้อ 2) และ ข้อ 3) เท่านั้น และถ้าเรื่องที่อ่านเป็นเรื่องที่ท่านคุ้นเคย ก็จะหมูเอามาก ๆ เพราะท่านจะเลือกความหมายของศัพท์และตีความได้อย่างง่ายดาย หลังจากนี้ก็ขยับจากเรื่องใกล้ตัวออกไปอ่านเรื่องไกลตัว, เรื่องง่ายไปสู่เรื่องที่ยากขึ้น, เรื่องสั้นไปสู่เรื่องยาวขึ้น

ทั้งหมดนี้คือทางเดินที่น่าชมเชยทั้งสิ้น ซึ่งถ้าท่านได้ทำเรื่อย ๆ ท่านก็ทำได้ โดยมีตัวช่วยที่ขยันขันแข็ง คือ Click Dictionary

ถ้าท่านชักคล้อยตามที่ชมชักชวน ตอนนี้ก็เข้าไปดาวน์โหลด Click Dictionary ได้เลยครับ
[1]. ดิกชันนารี อังกฤษ – ไทย มี 2 โปรแกรมฟรี ครับ คือ
-My Buddy Dictionary คลิกดูรายละเอียด ที่นี่ -Clicktionary คลิกดูรายละเอียด ที่นี่
[2].
ดิกชันนารี อังกฤษ – อังกฤษ มี 1 โปรแกรมฟรี คือ
-WordWeb Dictionary คลิกดูรายละเอียด ที่นี่

ผมขอ copy ย่อหน้าแรกมา paste ไว้ตรงนี้ และยีนยันตามข้อความนั้นทุกประการ

“ขอเชิญทุกท่านนำโปรแกรมฟรี ดิกชันนารี อังกฤษ – ไทย (My Buddy – Clicktionary) & ดิกชันนารี อังกฤษ – อังกฤษ (WordWeb) ไปใช้, ซึ่งใช้ได้ทั้ง online และ offline, ทั้งอ่าน Web และอ่านเอกสาร Word, ผมขอรับรองว่าทักษะในการอ่าน หรือ Reading Skill ของท่านจะดีขึ้นมากจนท่านก็แปลกใจตัวเอง ท้าท่านไม่ได้ผลผมยินดีให้ท่านต่อว่า ว่าผมเอาของไม่ดีมา ‘ขาย’”

พิพัฒน์
pptstn@yahoo.com

Thursday, December 27, 2007

[429]ฟังเสียงทุกคำให้คุ้นหู–ออกเสียงทุกคำให้คุ้นปาก

สวัสดีครับ
การที่เราจะฟังภาษาอังกฤษให้รู้เรื่อง จะต้องเริ่มจากรู้เรื่องเป็นคำ ๆ แล้วค่อยขยับขึ้นไปเป็นรู้เรื่องทีละวลี ทีละประโยค ทีละหลาย ๆ ประโยค

การพูดก็เช่นเดียวกันครับ ต้องเริ่มจากพูดได้ทีละคำ แล้วค่อยขยับขึ้นไปเป็นพูดได้ทีละวลี พูดได้ทั้งประโยค จนถึงพูดได้ครั้งละหลาย ๆ ประโยค

ฟังกับพูด ฟังมาก่อนพูด หลังจากนั้นก็ ฟัง – พูด, ฟัง – พูด, ฟัง – พูด, ฟัง – พูด, ... ไปเรื่อย ๆ

ปัญหาอย่างหนึ่งของการฝึกฟังจากเน็ตก็คือ ไฟล์เสียงอ่านคำศัพท์นี้จะดาวน์โหลดได้ช้ากว่าไฟล์ข้อความ พอต้องรอนานก็เลยไม่อยากรอ เราก็เลยไม่ค่อยได้ฝึกฟัง เป้าหมายที่เราตั้งไว้ คือ “ฝึกฟังเสียงทุกคำให้คุ้นหู – ฝึกออกเสียงทุกคำให้คุ้นปาก” ก็เลยไปไม่ถึงสักที

สิ่งที่ผมต้องการจะชักชวนท่านวันนี้ก็คือ ท่านดาวน์โหลดโปรแกรม ดิกชันนารี อังกฤษ – อังกฤษ WordWeb (ขนาด 17.79 MB ) ไปลงไว้ในเครื่องคอมฯของท่าน หรือที่ทำงานก็ได้ ติดตั้งแล้วไม่ทำให้เครื่องทำงานอืดครับ ขอรับรอง

ดาวน์โหลดที่นี่:
http://download.cnet.com/WordWeb/3000-2279_4-10003201.html?tag=mncol

เหตุที่ผมเลือกแนะนำ ดิกชันนารี อังกฤษ – อังกฤษ WordWeb ก็เพราะว่า ดิกเล่มนี้คุณภาพดีสุด ๆ จริง ๆ เช่น
- ภาษาอ่านง่าย
- เนื้อหากว้างขวาง ศัพท์เยอะมาก
- มีตัวอย่างประโยค
- มี คำเหมือน คำคล้าย คำต่าง
- ใช้งานง่าย คือเมื่อท่านดาวน์โหลดและติดตั้งไว้ในเครื่องคอมฯเรียบร้อยแล้ว เวลาจะเปิดดูศัพท์ ไม่ว่าจะจากหน้า webpage, ในเอกสาร WORD, ใน Excel, ในPowerPoint, ในไฟล์ PDF, ใน Outlook, หรือแม้แต่ใน notepad (สรุปก็คือ ไฟล์ทุกประเภท) ท่านเพียงแต่เปิดโปรแกรมขึ้นมา วางเมาส์บนศัพท์คำนั้น-คลิกขวา-พร้อมกับกด control ก็จะมีหน้าต่างคำแปลปรากฏขึ้นมาทันที
- เวลาใช้งาน ท่านสามารถคลิกที่ options บน menu bar ของโปรแกรมดิก แล้วขยาย font ให้ใหญ่ได้ตามต้องการ นี่ผมนึกถึงคนแก่สายตาไม่ค่อยดีอย่างผม สำหรับน้อง ๆ อายุยังน้อยคงไม่มีปัญหาเรื่องนี้

และ WordWeb ยังเป็น talking dictionary อีกด้วย
ท่านเพียงแต่คลิกรูปลำโพงที่มุมบนขวา หรือคลิกที่รูปตัวโน๊ตก็จะได้ยินคำอ่านอย่างรวดเร็ว และใช้งานได้โดยไม่ต้องต่อเน็ต สามารถ “หัดฟังเสียงทุกคำให้คุ้นหู – หัดออกเสียงทุกคำให้คุ้นปาก” จากโปรแกรมดิก WordWerb นี้

หรืออีกวิธีหนึ่ง ท่านพิมพ์ประโยคภาษาอังกฤษลงไปในช่อง Lookup: และคลิกรูปลำโพงที่มุมบนขวาเช่นเดียวกัน โปรแกรมดิกก็จะออกเสียงทั้งประโยคให้ท่านฟัง

ลองดูนะครับ ผมใช้บริการจากดิก WordWeb นี้มาหลายปีแล้ว ทั้งในการดูคำแปล ฟังเสียงคำอ่าน และหัดออกเสียงตาม เลยอยากจะให้ท่านได้รับประโยชน์ด้วย

พิพัฒน์
pptstn@yahoo.com

[428] เชิญดาวน์โหลดวีดิโอ รายการ Chris Delivery

สวัสดีครับ
ผมเคยเขียนถึงรายการภาษาอังกฤษของคุณ Chris ทางช่อง 5 ทุกวันศุกร์ เวลา เวลา 21:20 – 22:00 น. ไว้ที่หัวข้อนี้ [345] เรียนภาษาอังกฤษกับอาจารย์ Chris

รายการนี้เป็นรายการสอนการใช้ภาษาอังกฤษที่น่าสนใจมาก มีคนดูเยอะ เพราะดี และทำได้สนุก

ไฟล์วีดิโอจาการการนี้ ชุด “How to learn English” หรือ “เรียนภาษาอังกฤษอย่างไร” ทั้งหมด 5 ตอน มีคนนำไปแปะไว้ที่ youtube.com

ผมดาวน์โหลดไว้ และเอามาให้ท่านดาวน์โหลดต่อ ข้างล่างนี้
HowToLearnEnglish5.zip
HowToLearnEnglish4.zip
HowToLearnEnglish3.zip
HowToLearnEnglish2.zip
HowToLearnEnglish1.zip


เมื่อดาวน์โหลดเสร็จ - แตกไฟล์ zip - จะต้องเปิดใช้ด้วยโปรแกรม FLV Player โปรแกรมนี้ ท่านดาวน์โหลดได้ข้างล่างนี้ครับ
http://download.cnet.com/FLV-Player/3000-13632_4-10467081.html?tag=mncol
[ตอนระหว่างติดตั้งโปรแกรม ให้ติ๊กเอาครื่องหมายหน้าบรรทัด Install Freecorder Toolbar และ Install a Free Demo ออก จะได้ไม่ต้องเสียเวลากับมัน]

วิธีใช้งานโปรแกรมก็ง่าย ๆ เมื่อติดตั้งโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถึงเวลาใช้งานก็เปิดโปรแกรมขึ้นมา ใช้เมาส์ลาก (drag) ไอคอนไฟล์วีดิโอมาวาง (drop) ไว้ที่หน้าจอโปรแกรมที่เปิดไว้แล้ว จะคลิกขยายหน้าจอก็ได้

การดูวีดิโอจากไฟล์ที่ดาวน์โหลดไว้แล้วนี้ ดีกว่าดูจากเน็ตอีกครับ เพราะว่าภาพที่ชมไหลไปเรื่อย ๆ ไม่ติดขัด แต่ถ้าเป็นเน็ตช้า บางทีชะงักบ่อย ๆ จนเสียอารมณ์ดู

พิพัฒน์
pptstn@yahoo.com

Wednesday, December 26, 2007

[427]ดาวน์โหลด‘กามนิต’(ไทย+เยอรมัน+ฝรั่งเศส) + mp3

เพิ่ม 18 พย. 52:
[1250]อ่านและฟัง “กามนิต” ไทยและอังกฤษ ฉบับสมบูรณ์


สวัสดีครับ
กามนิต-วาสิฏฐี
เป็นวรรณกรรมธรรมะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในความรู้สึกของผม งดงามทั้งภาษาและเนื้อหาแห่งธรรม ผมอ่านเรื่องนี้ตอนอยู่ชั้นมัธยมและชอบมาก ๆ ทันที ได้ยินบางคนพูดว่า อาจจะเป็นเพราะสำนวนแปลของท่านเสฐียรโกเศศ และนาคะประทีปนี่เองที่ทำให้เรื่องนี้เป็นอมตะในหมู่คนไทย เพราะต้นฉบับภาษาอังกฤษที่ท่านใช้แปลอ่านแล้วก็ไม่กินใจ ผมเชื่อว่าคำพูดนี้ฟังขึ้นทีเดียว อย่างไรก็ตามผมพยายามตระเวณหา English version ที่ดาวน์โหลดได้ฟรีจากเน็ต หาตั้งนานก็ไม่พบ ที่พบมีแต่ฉบับภาษาไทย ภาษาเยอรมัน และภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังได้พบ mp3 อ่านเรื่องกามนิตเป็นภาษาอังกฤษ และ mp3 ภาษาไทยเป็น “ละครเสียงอิงหลักธรรม เรื่อง "กามนิต วาสิฏฐี"

และด้วยกลัวว่า ในอนาคตไฟล์เรื่องกามนิตอาจจะถูกลบออกจากเว็บที่มีอยู่ในขณะนี้ ผมจึงดาวน์โหลดไฟล์ข้อความและ mp3 เก็บเอาไว้ทั้งหมด ท่านใดต้องการไฟล์เหล่านี้ไปอ่านและฟัง เชิญดาวน์โหลดได้เลยครับ

1. หนังสือกามนิต ฉบับภาษาไทย
http://www.khonnaruk.com/html/book/liturature/kamanita/kamanita-index.html
ดาวน์โหลดกามนิตทั้งเล่ม: kamanita.zip

2. หนังสือกามนิต ฉบับภาษาฝรั่งเศส
French_Kamanita_web.pdf

3. mp3 อ่านเรื่องกามนิตเป็นภาษาอังกฤษ ทั้งหมด 45 บท
download:Listen to audio version (103 MB)

4. ละครเสียงอิงหลักธรรม เรื่อง "กามนิต วาสิฏฐี"
http://www.dhammathai.org/sounds/kamanit.php
http://www.dhammajak.net/book-other/37.html

เว็บที่ผมดาวน์โหลด
A. กามนิต-วาสิฏฐี (e-book) เสฐียรโกเศศ
http://www.khonnaruk.com/html/book/liturature/kamanita/kamanita-index.html

B. Der Pilger Kamanita by Karl Adolph Gjellerup
http://www.gutenberg.org/etext/14962

C. Le pèlerinage de Kamanita (en Français)
http://www.abhayagiri.org/index.php/main/book/le_pelerinage_kamanita_en_francais/
D. Audio Book - The Pilgrim Kamanita
http://www.abhayagiri.org/index.php/main/medium/audio_book_the_pilgrim_kamanita/
E. ละครเสียงอิงหลักธรรม เรื่อง "กามนิต วาสิฏฐี"
http://www.dhammathai.org/sounds/kamanit.php

พิพัฒน์
pptstn@yahoo.com

Tuesday, December 25, 2007

[426] เชิญอ่านนิยายจีนกำลังภายใน ภาคภาษาอังกฤษ

เพิ่ม 23 กพ.2551
ฟัง กำลังภายในจีน ตอนที่ 1
ฟัง กำลังภายในจีน ตอนที่ 2

สวัสดีครับ
ท่านผู้อ่านชอบนิยายจีนกำลังภายในไหมครับ เพื่อนผู้หญิงบางคนของผมวิจารณ์ว่ามีแต่เรื่องฆ่าฟัน ชื่อคนก็มีแต่จีน ๆ จำไม่ได้อ่านไม่รู้เรื่อง ผมไม่ขอเถึยงละ แต่ท่านลองอ่านบทเปิดฉากของหนังสือ “ฤทธิ์มีดสั้น” ตอน “รูปสลักจากมีดสั้น” ดูสักนิดซีครับ

“ลมหนาวราวมีดคมกริบ ถือพสุธากว้างใหญ่ต่างเขียง เห็นชีวิตทั้งหลายเป็นปลาเป็นเนื้อ หิมะโปรยปรายทั้งแผ่นฟ้าแผ่นดิน ใช้ห้วงเวหาต่างเตาหลอมละลายทุกสรรพสิ่งให้กลายเป็นสีเงิน

“หิมะยังโปรยปราย ลมยังไม่ซา รถม้าคันหนึ่งแล่นมาจากทางทิศเหนือ กงล้อรถที่หมุนเร็วบดหิมะที่แข็งตัวบนพื้นให้แตกกระจาย แต่ไม่อาจบดความว้าเหว่วังเวงของแผ่นฟ้าแผ่นดินให้กระจายไปด้วย

“ลี้คิมฮวงอ้าปากหาวยาว ๆ เหยียดเท้าทั้งสองไปบนพรมขนสัตว์หนานุ่มจนเต็มที่ ในตัวรถแม้อบอุ่นอย่างยิ่ง สุขสบายอย่างยิ่ง แต่ระยะทางนี้นับว่ายาวเกินไป เงียบเหงาเกินไป จนมิเพียงรู้สึกอ่อนล้าระโหยอย่างยิ่งเท่านั้น ยังรู้สึกเบื่อหน่ายรำคาญอย่างยิ่งด้วย เรื่องที่เกลียดที่สุดในชีวิตก็คือ ว้าเหว่ แต่ลี้คิมฮวงกลับพานมักเป็นเพื่อนกับความว้าเหว่อยู่เสมอมา”

ผมอ่านข้อความเปิดฉากนิยายจีนกำลังภายในเรื่องนี้หลายสิบปีแล้ว อ่านเที่ยวเดียวก็จำได้หมดแทบจะทุกคำ แน่ใจว่าโกวเล้งต้องเขียนบทนี้ออกมาจากชีวิตจริงที่เคยว้าเหว่และเหงาเอามาก ๆ ทำให้คนอ่านเหงาตามไปด้วย

ท่านที่เคยอ่านวรรณกรรมเรื่อง “กามนิต วาสิฏฐี” น่าจะจำตอนเปิดฉากที่บรรยายยามอาทิตย์อัสดงซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จยังกรุงราชคฤห์คือเบญจคีรีนครได้ เป็นอาทิตย์อัสดงที่สงบร่มเย็นจริง ๆ

"ขณะพระองค์เสด็จมาใกล้เบญจคิรีนครคือราชคฤห์เป็นเวลาจวนสิ้นทิวาวาร แดดในยามเย็นกำลังอ่อนลงสู่สมัยใกล้วิกาล ทอแสงแผ่ซ่านไปยังสาลีเกษตร แลละลิ่วเห็นเป็นทางสว่างไปทั่วประเทศสุดสายตา ดูประหนึ่งมีหัตถ์ทิพย์มาปกแผ่อำนวยสวัสดี เบื้องบนมีกลุ่มเมฆเป็นคลื่นซ้อนซับสลับกันเป็นทิวแถว ต้องแสงแดดจับเป็นสีระยับวะวับแววประหนึ่งเอาทรายทองไปโปรยปราย เลื่อนลอยลิ่ว ๆ เรี่ย ๆ รายลงจดขอบฟ้า ชาวนาและโคก็เมื่อยล้าด้วยตรากตรำทำงาน ต่างพากันดุ่ม ๆ เดินกลับเคหสถานเห็นไร ๆ เงาหมู่ไม้อันโดดเดี่ยวอยู่กอเดียว ก็ยืดยาวออกทุกที ๆ มีขอบปริมณฑลเป็นรัศมีแห่งสีรุ้ง อันกำแพงเชิงเทินป้อมปราการที่ล้อมกรุงรวมทั้งทวารบถทางเข้านครเล่า มองดูในขณะนั้นเห็นรูปเค้าได้ชัดถนัดแจ้งดั่งว่านิรมิตไว้ มีสุมทุมพุ่มไม้ดอกออกดกโอบอ้อมล้อมแน่นเป็นขนัด ถัดไปเป็นทิวเขาสูงตระหง่าน มีสีในเวลาตะวันยอแสงปานจะฉาบเอาไว้เพื่อแข่งกับแสงสีมณีวิเศษ มีบุษยราคบัณฑรวรรณและก่องแก้วโกเมนแม้รวมกันให้พ่ายแพ้ฉะนั้น"

ถ้าท่านราชบัณฑิตจะยกให้กามนิตเป็นวรรณกรรมผมก็ไม่ว่าท่าน แต่ผมขอยกย่อง “ฤทธิ์มีดสั้น” ติดอันดับวรรณกรรมด้วย ท่านคงไม่ว่าผมนะ

และถ้าท่านชอบอ่านนิยายจีนที่แปลเป็นภาษาไทย วันนี้ผมขอชวนท่านอ่านนิยายจีนที่แปลเป็นภาษาอังกฤษสักเล่มหนึ่ง เรื่อง “กระบี่เย้ยยุทธจักร(เดชคัมภีร์เทวดา)” หรือ The Smiling Proud Wanderer (แปลโดย Lanny Lin) ที่เว็บนี้ครับ: http://www.lannyland.com/wanderer/wanderer.htm

เขายังแปลไม่จบครับ แต่ก็อ่านได้สนุก ทีเดียว ผมเองก็ยังอ่านไม่จบ พิมพ์บรรทัดนี้เสร็จแล้วจะกลับไปอ่านต่อครับ
(ท่านสามารถใช้ Search ที่มุมบนขวาของหน้าพิมพ์ค้นหาเรื่องที่อ่านได้)

ดาวน์โหลดไฟล์หนังสือเก็บเอาไว้อ่านตอนว่าง ๆ:
wanderer.zip

ฟังเพลง เดชคัมภีร์เทวดา:
Listen to the Smiling Proud Wanderer Song

ฟังเพลง พร้อมกับดู animation:
http://www.lannyland.com/wanderer/music/xiaoao.htm

ตัวละครหลักในเรื่อง:
http://www.lannyland.com/wanderer/characters.htm

[ท่านใดทราบเว็บนิยายจีนกำลังภายในภาคภาษาอังกฤษทำนองนี้ ช่วยบอกด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ]

พิพัฒน์
pptstn@yahoo.com

[425]เชิญดาวน์โหลดไฟล์ Breaking News English เก็บไว้ใช้




เชิญดาวน์โหลดไฟล์ Breaking News English เก็บไว้ใช้

Monday, December 24, 2007

[424] ขอแนะนำเว็บสอนเรื่อง phrasal verb ที่ดีมาก ๆ

สวัสดีครับ
ผมไม่รู้ว่า phrasal verb มีคำแปลในภาษาไทยหรือเปล่า

Cambridge Advanced Learner's Dictionary ให้ความหมายของ phrasal verb ไว้ว่า:
a phrase which consists of a verb in combination with a preposition or adverb or both, the meaning of which is different from the meaning of its separate parts:'Look after', 'work out' and 'make up for' are all phrasal verbs. [phrasal verb ประกอบด้วย verb ที่รวมกับ preposition หรือ adverb หรือทั้งสองอย่าง รวมกันแล้วมีความหมายที่ต่างไปจากศัพท์แต่ละคำที่มารวมกัน]

ดูจากคำอธิบายข้างต้น เมื่อเราอ่านข้อความแล้วพบ phrasal verb ก็มีอยู่ทางเดียวที่จะรู้ความหมายของ phrasal verb คือต้องเดาจากข้อความที่อ่าน แต่ถ้าต้องเจอบ่อย ๆ ในเรื่องหนึ่ง ๆ ที่อ่านก็คงจะมึนอยู่เหมือนกัน แต่ก็คงหลีกไม่พ้นเพราะคนที่เขียนภาษาอังกฤษ เขาก็เขียนด้วย phrasal verb, คนที่พูดก็พูดด้วย phrasal verb, เราคนอ่านและคนฟังก็เลยต้องพยายามเข้าใจ phrasal verb และเมื่อเราชักคล่อง เราเองนี่แหละจะสามารถเขียนและพูดด้วย phrasal verb เหมือนเขาเหล่านั้น ผมว่ามันเป็นธรรมชาติของทุกภาษาที่ต้องมีสิ่งพวกนี้ ถ้าเรานึกถึงภาษาไทย ก็น่าจะมีอะไร ๆ ที่คล้าย ๆ กัน วลีเช่น เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา , จูงจมูก, ทำให้หัวปั่น, ตีสองหน้า ฯลฯ ความหมายไม่ได้เกี่ยวตรง ๆ กับอวัยวะ หู – จมูก – หัว – หรือ หน้า เลย แต่เราก็พูดกันได้และเข้าใจดี ใครมาห้ามไม่ให้เราพูดเราก็คงไม่ยอม ท่านใดที่หงุดหงิดรู้สึกว่าศัพท์อังกฤษพวกนี้ยาก เขาน่าจะใช้ศัพท์ตรง ๆ คนไทยอย่างเราจะได้ฟังง่าย ๆ หน่อย ก็ขอให้นึกถึงอวัยวะ หู – จมูก – หัว – หรือ หน้า ที่ผมยกเป็นตัวอย่างก็แล้วกันครับ

ที่เว็บนี้
http://www.phrasalverbdemon.com/index.html เป็นเว็บที่ดีมาก เพราะจะช่วยลดความปวดหัวของท่านในการทำความเข้าใจ phrasal verb เพราะเขามีวิธีทำให้เราเรียนรู้ phrasal verb ได้อย่างไม่น่าเบื่อ ผ่านกิจกรรม หรือผ่านข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้ ต่าง ๆ คือ
1.Listening ฟัง ถ้าจะดาวน์โหลดไฟล์ mp3 ก็ให้คลิกขวาที่ลิงค์, คลิกซ้าย Save Target As…, และหาที่ save ไว้ในเตรื่องคอมฯ

2. Corpus คลังศัพท์ หัวข้อนี้มีอะไรดี ๆ มากมายให้ศึกษา

3. Dictionary พจนานุกรม

4. Particles ไอ้ตัวนี้ผมไม่รู้จะแปลว่ายังไงดี ท่านเข้าไปดูเองแล้วกันครับ

5. Quizzes ทดสอบ

6. Reading อ่าน

7. Games มีเกมให้เล่น

8. Grammar มีแกรมมาร์ให้ทำ

9. Verb List

10. Songs มีเนื้อเพลงซึ่งมี phrasal verb ให้ศึกษา

11. Teachers หัวข้อนี้แนะนำครูเกี่ยวกับการสอน phrasal verb

น่าสนใจและเป็นประโยชน์ทุกกิจกรรมเลยครับ

ผมเองได้ดาวน์โหลดไฟล์ mp3 พร้อม script, ไฟล์ quiz, และไฟล์ dictionary ของเว็บนี้ไว้ ท่านสามารถดาวน์โหลดไปใช้ศึกษาได้เลยครับ ข้างล่างนี้

mp3_text_file1.zip
mp3_text_file2.zip
mp3_text_file3.zip

dictionary

quizzes.zip

XXX ข้อแนะนำในการดาวน์โหลดไฟล์ XXX

เพิ่ม Random Phrasal Verb Quiz:
http://www.usingenglish.com/reference/phrasal-verbs/random-quiz.html
และ: http://www.usingenglish.com/reference/phrasal-verbs/

พิพัฒน์
pptstn@yahoo.com

[423] The Art of Being Well

เพิ่ม 28 ธค 50: Put the Glass Down

สวัสดีครับ
ต้องขอขอบคุณ คุณรานี ผู้ใจดี ซึ่งได้ส่งไฟล์ PowerPoint พร้อมเสียงดนตรี เรื่อง The Art of Being Well หรือ ‘ศิลปะแห่งการมีสุขภาพดี’ มาให้ ในเนื้อหาบอกว่า

If you don’t want to be ill…
… Speak Your Feelings.
… Make Decisions.
… Find Solutions.
… Don’t Live by Appearances.
… Accept.
… Trust.
… Do Not Live Life Sad.


เป็นไฟล์ที่น่าชมทีเดียว ไปดาวน์โหลดได้ที่นี่ครับ:
-http://www.4shared.com/get/127471724/e505c4dd/TheArtOfBeingWell.html
-http://sharelife.wordpress.com/2007/10/16/the-art-of-being-well-dr-drauzio-varella/
[คลิก full เพื่อดูภาพเต็มจอ]

ดูไฟล์ PowerPoint อื่น ๆ ที่ดีเช่นกัน:
Reflections on Life (คิดคำนึงถึงชีวิต)
[265] 'เพื่อความงดงามและจรรโลงใจ' -ดาวน์โหลดไฟล์

พิพํฒน์
pptstn@yahoo.com

Sunday, December 23, 2007

[422] ประสบการณ์ในการเขียนภาษาอังกฤษ

สวัสดีครับ
งานประจำที่ทำอยู่ทำให้ผมต้องเขียนภาษาอังกฤษอยู่บ้าง บางครั้งเขียนบ่อย บางครั้งเขียนไม่บ่อย บางครั้งไม่ได้เขียนเลย

ถ้าถามว่าเขียนภาษาอังกฤษเป็นงานยากไหม ตอบว่าบางทีก็ยากมาก บางทีก็ยากน้อย บางทีก็ไม่ยากเลย ขึ้นอยู่กับว่าเขียนอะไร เช่น เขียนสุนทรพจน์ บันทึก โครงการ บทความ บทสัมภาษณ์ จดหมาย หรืออีเมล และเขียนให้ใครหรือเขียนถึงใคร เช่น ถ้าเขียนร่างสุนทรพจน์ให้ผู้บริหารก็ยากหน่อย ถ้าเขียนอีเมลอย่างไม่เป็นทางการไปถึงชาวต่างประเทศก็ง่ายหน่อย เป็นต้น แต่ถ้าท่านจะเกณฑ์ให้ผมตอบคำเดียวว่าการเขียนภาษาอังกฤษยากหรือง่าย ผมขอต่อรองตอบสองคำว่า ‘ไม่ง่าย’ แต่ก็ ‘ไม่ยากนัก’

ผมขออนุญาตพูดถึงประสบการณ์และความคิดเห็นของตัวเองเกี่ยวกับเรื่องการเขียนภาษาอังกฤษ ถือว่าเล่าสู่กันฟังแล้วกันครับ

ภาษาอังกฤษที่เรียนในชั้นตั้งแต่เด็ก แม้เขาจะมุ่งให้ได้ทั้ง 4 อย่าง คือ ฟัง – พูด – อ่าน – เขียน แต่ผมได้มามาก ๆ อย่างเดียว คือ ทักษะการอ่าน ส่วนการฟัง – พูด – เขียน ผมได้มาน้อย

การเรียนภาษาอังกฤษให้ได้ผลดีและเร็วจะเกณฑ์ให้ทุกคนใช้วิธีเดียวกับเราคงเป็นการทำบาปด้วยกุศลเจตนา วิธีที่ผมใช้เป็นหัวหอกในการเรียนภาษาอังกฤษคือการอ่าน บางคนใช้วิธีดูหนัง – ฟังเพลงเป็นวิธีหลักและได้ผลซึ่งผมก็อนุโมทนาด้วย ส่วนผมใช้วิธีอ่านเป็นหลักและจนถึงบัดนี้ก็ร้องเพลงฝรั่งไม่เป็นแม้แต่เพลงเดียว เพื่อน ๆหลายคนไม่เชื่อว่าผมร้องเพลงฝรั่งไม่เป็น ส่วนบางคนที่เชื่อก็รู้สึกสงสาร ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นความสงสารที่มีเหตุผลทีเดียว ผมเคยอ่านบทความเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้คน ซึ่งให้ข้อสรุปว่าถ้าจะให้ได้ผลดีก็น่าจะใช้หลาย ๆ วิธี เพราะแต่ละวิธีก็มีข้อดีของมัน ผมโชคไม่ค่อยดีนักที่ในช่วงวัยรุ่น วิธีที่ใช้เรียนภาษาอังกฤษมีเพียงการอ่านเท่านั้น มันจึงเป็นเรื่องของ ‘by chance’ น่าอิจฉารุ่นน้องทุกวันนี้ซึ่งมี ‘ตัวช่วย’ มากมายในการศึกษาภาษาอังกฤษ เขาจึงสามารถเลือกได้หลาย ๆ วิธีที่เหมาะกับตัวเขา คือเป็น ‘by choice’ ซึ่งผมไม่ค่อยมีโอกาสมากนักเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว

แต่ถึงอย่างไรก็ต้องบอกว่าผมไม่โชคร้ายซะทีเดียว เพราะ reading skill ที่สะสมไว้ตอนอายุน้อยเป็นพื้นฐานที่วิเศษมาก สำหรับ listening, speaking และ writing ซึ่งต้องมาฟิตเอาตอนหลังเพราะหน้าที่การงานบังคับ เพราะตั้งแต่เรียนจบมหาวิทยาลัยและไปทำงานต่างจังหวัดไกล ๆ ผมก็ยังคงอ่าน Bangkok Post ทุกวันถ้าเป็นไปได้ จำได้ว่ามีอยู่วันหนึ่งขณะที่กินมันเทศเผาในหมู่บ้านพร้อมกับหยิบ Bangkok Post ขึ้นมาอ่าน ผมถูกเพื่อนทักเล่น ๆว่า ถ้าชอบกินมันเทศเผาให้อ่าน ‘ไทยรัฐ’ ถ้ายังยืนยันจะอ่าน Bangkok Post ให้ซื้อแฮมเบอร์เกอร์มากิน เพราะสิ่งที่กินกับสิ่งที่อ่านมันไม่ match กัน ตอนนั้นที่ถูกทักผมยังงง ๆ และตอบเพื่อนไม่ได้ถนัด ถ้าเพื่อนคนนั้นบังเอิญมาได้อ่านสิ่งที่ผมเขียนบรรทัดนี้ ผมขอตอบใหม่ว่า ทุกวันนี้ผมกินทั้งมันเทศเผาและแฮมเบอร์เกอร์ ส่วนหนังสือพิมพ์ก็อ่านทั้งไทยรัฐและ Bangkok Post เพื่อนคงไม่ว่าอะไรนะ


การอ่านเป็นพื้นฐานที่ดีได้อย่างไรสำหรับการฟัง – พูด – และเขียน การอ่านมีประโยชน์อย่างนี้ครับ
[1] การอ่านทำให้รู้ศัพท์เยอะ ซึ่งศัพท์ที่รู้นี้ก็เอาไปใช้ในการฟัง พูด และเขียน เพราะฉะนั้นเมื่อฟังข่าวหรือบทสนทนาภาษาอังกฤษ ถ้าผมไม่รู้เรื่องก็เพราะ ‘สำเนียง’ มิใช่ ‘สำนวน’ เพราะศัพท์และสำนวนนั้นผมตุนทำความเข้าใจไว้มากแล้วด้วยการอ่าน

เพราะฉะนั้นในการฝึก listening skill จึงลดงานไปครึ่งหนึ่ง คือทำให้หูของตัวเองคุ้นเคยกับสำเนียง ถ้าต้องรับมือทั้งสำนวนและสำเนียงคงหนักเอาการ และนี่น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ผมได้ยินน้องในที่ทำงานบางคนที่ไม่ชอบศัพท์สมัยเรียนหนังสือบ่นว่าฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่องช้า

กฎส่วนตัวที่ผมถือเป็นหลักในการเรียนศัพท์ใหม่ ก็คือ
1) จำทีละ 1 ความหมาย:
เมื่อเปิดดิกจะพบว่า ศัพท์ตัวหนึ่งบางทีมีตั้ง 5 – 6 ความหมายหรือมากกว่า ผมก็จะจำเฉพาะความหมายที่ผมพบในเรื่องที่อ่าน เพราะถ้าขืนอัดจำให้ได้หมดในคราวเดียวกันคงล้นและไหลออกจากสมองหมด ข้อที่น่ายินดีก็คือ ความหมายหนึ่งความหมายใดที่เราจำไว้ได้นี้ จะช่วยให้เราเดาไปถึงความหมายอื่น ๆ ได้ง่ายขึ้นเมื่อไปอ่านพบที่อื่น ไม่ต้องเปิดดิกทุกครั้งก็พอเดาได้

2) ต้องรู้คำอ่านและเปล่งเสียงออกมาให้ได้อย่างมั่นใจ โดยเฉพาะพยางค์ที่ลงเสียงหนัก เพราะถ้าเราไม่รู้หรือไม่มั่นใจในการออกเสียง ก็ยากนักที่ศัพท์ใหม่จะประทับในสมอง ผมไม่รู้ว่าทฤษฎีเขาว่าไว้อย่างไร แต่ตัวผมเป็นเช่นนี้จริง ๆ พยางค์ที่ลงเสียงหนักมักจะมีเสียงตรีในระดับเสียงภาษาไทย (daughter จึงออกเสียง ด๊อ เทอะ ) ดิกชันนารีอังกฤษ – ไทย บางเล่มก็มีเครื่องหมาย ไว้หน้าพยางค์ที่ลงเสียงหนัก บางเล่มก็พิมพ์ไว้หลังพยางค์นั้น ผมคิดว่าน้องหลายคนอาจจะงงเรื่องนี้ เพราะผมเองก็เคยงงมาแล้ว

3) ผมทำสมุดจดศัพท์ส่วนตัวเพื่อการนี้ รูปร่างของสมุดจดศัพท์เป็นอย่างนี้ครับ
http://home.dsd.go.th/freeenglish/Vocab_book.doc
โดยการทวนศัพท์ผมจะใช้แผ่นกระดาษเปิดเฉพาะคำศัพท์ในคอลัมน์แรก และปิดในคอลัมน์อื่น ๆ ไว้และจะนึกตอบตัวเองก่อนเปิด และบางทีผมก็จะเปิดเฉพาะคำแปลภาษาไทยในคอลัมน์สุดท้าย และปิดคำศัพท์ภาษาอังกฤษในคอลัมน์อื่น พูดง่าย ๆ ก็คือ จะใช้วิธีทวนศัพท์ทั้ง 2 แบบ คือ จากคำศัพท์ภาษาอังกฤษไปหาคำแปลภาษาไทย และจากคำแปลภาษาไทยไปหาศัพท์ภาษาอังกฤษ

[2] การอ่านทำให้รู้แกรมมาร์ ซึ่งเป็นแกรมมาร์ที่มีชีวิต ไม่ใช่แกรมมาร์ที่เหมือนเทวรูปตัวแข็งทื่ออยู่ในตำรา ซึ่งใคร ๆ ก็รู้ว่าสำคัญแต่ไม่อยากจะยุ่งด้วย การรู้แกรมมาร์ก็เหมือนกับการรู้ศัพท์นั่นแหละครับ คือรู้แล้วเอาไปใช้ได้ทั้งในการฟัง พูด และเขียน ถ้าเรารู้แกรมมาร์เราจะฟังได้ดี พูดได้ดี และเขียนได้ดีกว่าไม่รู้

เรื่องแกรมมาร์นี่ผมได้ยินคนทะเลาะกันมามาก ถ้าแกรมมาร์เป็นคนผมจะสงสารเขามากทีเดียว เพราะดูเหมือนเขาจะเป็นแพะรับบาปถูกบูชายัญในฐานะที่ทำให้นักเรียนไทยทั้งประเทศพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ เป็นอนันตริยกรรมทางภาษาที่ต้องตกนรกหมกไหม้ถึงขุมอเวจี ครูที่สอนแกรมมาร์ก็พลอยถูกตราหน้าเป็นตราบาปไปด้วย ‘แกรมมาร์’ ในภาษาไทยจึงแปลว่า ‘กรรมมาก’ ‘ครูสอนแกรมมาร์’ ก็คือ ‘คนมีกรรมมาก’ เอ๊ะ ! นี่ผมพูดเวอร์เกินไปหรือเปล่าครับ

เอาอย่างนี้ดีกว่าครับ ผมไม่ขอทะเลาะด้วย แต่จะขอเล่าประสบการณ์ฝึกส่วนตัวเกี่ยวกับแกรมมาร์

ถ้าท่านให้ผมพูดความรู้สึกคำเดียวที่มีต่อหนังสือแกรมมาร์ หลังจากไตร่ตรองอย่างรอบคอบทั่วสิบทิศแล้ว ผมคิดว่าความรู้สึกที่เหมาะสมและยุติธรรมที่สุดสำหรับตำราแกรมมาร์ก็คือ ‘น่าเบื่อ’ ผมนึกถึงสมัยเรียนชั้นมัธยมในห้องเรียนภาคบ่ายไม่มีแอร์ติดในต่างจังหวัดบ้านเกิด เพิ่งกินข้าวกลางวันอิ่มมาใหม่ ๆ และต้องนั่งทนฟังครูอธิบายเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทางภาษาซึ่งคนอีกมุมโลกหนึ่งเขาใช้พูดกันแต่เราไม่ได้พูดกับเขาด้วย ถ้าจะให้ผมซึ่งเป็นเด็กนักเรียนนุ่งกางเกงขาสั้นนั่งฟังอย่างชื่นชมและไม่ง่วง ผมคิดว่าอย่างต่ำผมต้องบรรลุโสดาบันซะก่อน นี่ผมพูดจริง ๆ นะ

แต่อย่างไรก็แล้วแต่ ผมถือว่าตัวเองโชคดีครับที่ชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็กโดยไม่ต้องให้ใครมาส่งเสริมการอ่าน และภาษาอังกฤษก็มีเรื่องดี ๆ ให้อ่านที่หาอ่านไม่ได้หรือหาอ่านได้ยากจากหนังสือภาษาไทย ช่วงนั้นผมรับเป็นสมาชิกหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก ๆ คือ Student Weekly แล้วก็พบว่า ถ้าจะอ่านให้รู้เรื่องต้องรู้ทั้งศัพท์และแกรมมาร์ มิฉะนั้น แม้จะรู้ว่า eat แปลว่า กิน, man แปลว่า คน, และ shark แปลว่า ปลาฉลาม แต่ถ้าไปอ่านเจอคำว่า man-eating shark และ shark-eating man คำไหนแปลว่า ‘ปลาฉลามกินคน’ หรือ ‘คนกินปลาฉลาม’ ก็ยังงง ๆ อยู่ นี่เรื่องกินง่าย ๆ ยังงงถึงขั้นนี้ เรื่องที่มันยากและยุ่งกว่านี้ล่ะยิ่งไม่ต้องพูดถึง ฉะนั้นตำราแกรมมาร์แม้จะ ‘น่าเบื่อ’ แต่ก็ ‘จำเป็น’

ผมก็เลยต้องหาหนังสือแกรมมาร์ดี ๆ เล่มหนึ่งมาอ่านเท่าที่จะหาซื้อได้ในขณะนั้น การอ่านแกรมมาร์เป็นเรื่องที่ ‘ยาก’ เพราะต้อง ‘ย่อย’ อาหารฝรั่งที่กระเพาะสมองของคนไทยอย่างผมไม่คุ้น แต่มันก็จำเป็นครับ ผมอ่านให้เข้าใจไม่ได้มุ่งให้จำ เพราะถึงอย่างไรมันก็จำไม่ได้หมด แต่ต้องทำให้ตัวเองเข้าใจให้ได้ เพราะถ้าไม่เข้าใจแกรมมาร์ก็จะไม่เข้าใจภาษาอังกฤษจริง ๆ ใช้เวลานานพอสมควรครับกว่าจะอ่านและย่อยจนจบเล่ม

แกรมมาร์จะยังคงเป็นเพียงแกรมมาร์ โดยแกรมมาร์ และเพื่อแกรมมาร์ ถ้าเราไม่ได้ใช้แกรมมาร์ในการอ่าน ในการฟัง ในการพูด หรือในการเขียน แต่ก็อย่างที่บอกแล้ว ผมไม่มีโอกาสมากนักในการฟัง – พูด – เขียนภาษาอังกฤษ แกรมมาร์ที่ตายอยู่ในตำราก็ถูกชุบชีวิตขึ้นมาด้วยการอ่าน

เมื่อผมอ่าน Student Weekly หรือ Bangkok Post ผมจะสังเกตไปเรื่อย ๆ ว่าทำไมเขาถึงเขียนอย่างนั้น มันรู้สึกตะหงิด ๆ ผิดหลักแกรมมาร์ที่เคยอ่านมาหรือเปล่า เรื่องของเรื่องก็คือว่า เราจะไม่รู้สึก หรือไม่รู้เรื่องอะไรเพิ่มเติมเลย ถ้าเราไม่เรียนแกรมมาร์ตุนไว้ในสมองซะก่อน แต่ถ้าสมองของเราเคยย่อยเรื่องนี้ไว้ พอได้อ่านเนื้อเรื่องก็เหมือนเป็นการทบทวนกฎเกณฑ์แกรมมาร์ ยิ่งอ่านมากก็ยิ่งจำได้โดยไม่ต้องบีบบังคับให้สมองจำ เพราะมันจำของมันเอง เปรียบไปก็เหมือนดูเขาเล่นหมากรุกนั่นแหละครับ ถ้าไม่รู้มาก่อนว่าขุน-โคน-ม้า-เรือ-เบี้ยเดินอย่างไร ต่อให้ดูเขาเล่นสักกี่ร้อยกระดานก็ตาม ก็ยังไม่รู้เรื่องอยู่นั่นเอง แต่ถ้ารู้กฎเกณฑ์ไว้ก่อน ความรู้ก็จะค่อย ๆ ต่อยอดตัวมันเอง การลงทุนยอมศึกษาแกรมมาร์สักเล่มหนึ่งจึงคุ้มค่าเอามาก ๆ

[3] นอกจากศัพท์และแกรมมาร์แล้ว การอ่านยังทำให้เราได้เรียนรู้การใช้ภาษาในลักษณะต่าง ๆ ที่เมื่อรู้แล้วสามารถเอาไปใช้ได้ทั้งในการฟัง พูด และเขียน เรื่องประสบการณ์การใช้ภาษานี้ถ้าเราไม่ค่อยมีโอกาส ‘ฟัง’ เราก็ต้อง ‘อ่าน’ ครับ ถ้าฟังก็ไม่ได้ฟัง อ่านก็ไม่ได้อ่าน ก็ย่อมไม่มีวัตถุดิบที่จะเอาไปใช้พูดหรือเขียน คนที่ฝึกพูดโดยไม่ได้ฝึกฟัง และฝึกเขียนโดยไม่ได้ฝึกอ่าน ผลการฝึกคงได้ไม่ดี เพราะจริง ๆ แล้วการเรียนภาษาเริ่มต้นด้วยการ ‘จำขี้ปาก’ และเลียนแบบจากการอ่านและการฟัง แล้วพัฒนาไปสู่การพูดและเขียนด้วยตัวเอง

ผมกำลังพูดกับท่านเกี่ยวกับเรื่องที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า collocation ถ้าฝรั่งพูดภาษาไทยว่า ‘ลมพัดหนัก’ และ ‘ฝนตกแรง’ เราก็คงเข้าใจ แม้เราจะพูดของเราว่า ‘ลมพัดแรง’ และ ‘ฝนตกหนัก’ ทุกภาษาเป็นเช่นนี้ คือเขาพูดของเขาอย่างนั้นโดยห้ามถามถึงเหตุผล และเอาแกรมมาร์มาอธิบายก็ไม่ได้ถนัดนัก เรื่องของเรื่องก็คือว่า ถ้าไม่พูดหรือเขียนอย่างนั้น อาจทำให้สื่อสารเสียหายเพราะเข้าใจผิด หรือเพียงแค่ตลกขบขันก็ได้

เรื่องการจำ style หรือลักษณะต่าง ๆ ในการใช้ภาษาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้เองนี้ การสังเกตสำคัญที่สุด แต่ก็ดูเหมือนว่า skill ในการสังเกตสอนกันลำบาก ก็คงต้องเริ่มที่การใส่ใจ แต่คนจะไม่ใส่ใจถ้าไม่มีใจให้ ทำไปทำมาก็อยู่ที่ฉันทะหรือความรักนั่นแหละ ถ้าไม่รักก็ล้มเหลวตั้งแต่เริ่ม แต่ถ้ารักก็ยินดีฝ่าฟันไปได้แม้ไม่ง่ายนัก

อ่านมาถึงบรรทัดนี้บางท่านอาจจะบอกว่า โอ้โฮ จะพูดจะเขียนสักทีต้องให้ถูกเด๊ะเลยทั้งศัพท์สำนวน – แกรมมาร์ – การใช้ภาษาเลยหรือ? อย่างนี้ก็ไม่ต้องทำอะไรเลย ใน 4 ทักษะคือ ฟัง – พูด – อ่าน – เขียน ก็เอาแค่ฟังกับอ่านก็พอ ส่วนพูดกับเขียนให้พวกที่เขาคล่อง ๆ ทำกันจะได้ไม่ต้องผิด

อย่าน้อยใจอย่างนั้นเลยครับ ผมเพียงแต่จะบอกว่า ถ้าเราฝึกอ่านและฟังเยอะ ๆ เราก็จะได้ศัพท์สำนวน – แกรมมาร์ – การใช้ภาษาอย่างถูกต้องที่สามารถเอาไปใช้ได้โดยอัตโนมัติ เมื่อเราต้องเขียนหรือพูด ผมอยากจะบอกแค่นี้แหละครับ

ที่คุยมาทั้งหมดตั้งแต่ต้นคืออารัมภบทที่นับว่ายาวมาก ต่อไปนี้ผมจะขอวกเข้าเรื่อง ‘ประสบการณ์ในการเขียนภาษาอังกฤษ’

เมื่อเรียนจบแล้วผมก็ทำงานอยู่ต่างจังหวัดประมาณ 10 ปี และก็อย่างที่บอกแล้วว่า ในช่วง 10 ปีนี้การฟิตภาษาอังกฤษของผมก็มีแต่เพียงการอ่าน – การอ่าน – และการอ่านเท่านั้น เมื่อเข้ามาทำงานในกรุงเทพและต้องเขียนภาษาอังกฤษ หรือบางทีมีคนขอร้องให้ช่วยเขียน หรือต้องแนะนำให้คนอื่นเขียน และไม่ค่อยมีคนให้ถามเมื่อสงสัย ผมก็ต้องหาอุปกรณ์เสริมมาช่วยให้เบาแรงเมื่อต้องเขียนอะไรสักอย่างหนึ่ง และเป็นเรื่องโชคดีจริง ๆ ที่ในช่วงประมาณ 10 ปีนี้ผมได้อาศัยอินเตอร์เน็ตเป็นตัวช่วยที่ต้องขอขอบคุณยิ่ง ผมจึงขอสรุปให้ท่านฟังเกี่ยวกับตัวช่วยทั้งหลายที่ผมเคยไหว้วานมาตั้งแต่ต้น ว่าเป็นข้อ ๆ ไปเลยนะครับ

[1] ดิกชันนารี
ผมได้พูดถึงการใช้ประโยชน์จากดิกชันนารีไว้มากพอสมควรใน Blog นี้ ท่านผู้อ่านสามารถคลิกเข้าไปชมได้ที่นี่ครับ: พจนานุกรม dictionary

* * * * * * * * * *
โดยทั่วไปเมื่อเราเปิดดิกก็เพราะต้องการทราบความหมายของศัพท์ แต่ถ้าเราต้องการศึกษาการใช้ศัพท์คำนั้นเพื่อที่เราจะได้ประยุกต์เอาไปพูดหรือเขียนเอง ก็ต้องหาตัวอย่างที่เจ้าของภาษาเขาใช้ ยิ่งเยอะยิ่งดี ผมก็ได้อาศัยเว็บพวกนี้ครับ
- http://www.dicts.info/define.php
(คลิกที่รูปลำโพงเพื่อฟังการออกเสียง, วางเมาส์ที่ไอคอนรูปหน้าคำศัพท์(ถ้ามี), เลื่อนลงมาข้างล่างใต้หัวข้อ 'word' English examples of use ตรงนี้แหละครับจะมีตัวอย่างให้ดูเยอะเลย

-http://www.manythings.org/voa/sentences.htm
( กำหนดเอาเองนะครับว่า คำที่พิมพ์จะต่อท้ายด้วย –s, -es, -ed, -ing, -ly, ฯลฯ หรือไม่)

- http://eedic.naver.com/
(พิมพ์คำศัพท์, คลิกที่ Example)

- เพิ่ม 4 มค 50: http://www.natcorp.ox.ac.uk/
-เพิ่ม 14 มค 50: http://nhd.heinle.com/advanced_search.aspx
* * * * * * * * * *

[2] ปัญหาหนึ่งที่ผมพบบ่อยคือไม่รู้ว่า preposition อะไรที่จะต้องเอามาเติมท้าย Verb ก็ได้อาศัยเว็บพวกนี้ช่วยบอก
http://dictionary.cambridge.org/Default.asp?dict=P
http://www.englishpage.com/prepositions/verb_preposition.html
http://www.englishpage.com/prepositions/phrasaldictionary.html
http://www.phrasalverbdemon.com/dictionarya.htm

[3] หลายครั้งผมต้องการหาตัวอย่างที่คนอื่นเขาได้เขียนไว้ จะได้ดูเป็นแนวทาง ก็ได้เว็บพวกนี้ครับ

หนังสือราชการ:
http://www.do.rtaf.mi.th/Publication/files/13_4800457.pdf

จดหมายติดต่องาน
[132] การเขียนจดหมายติดต่องาน (ธุรกิจ)

บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ (ภาษาอังกฤษ)
http://library.bu.ac.th/buonline/onlinedb/onlinedb.html
http://www.research.chula.ac.th/abstract/prints.htm

การเขียนสุนทรพจน์ จากเว็บกระทรวงการต่างประเทศ
http://www.mfa.go.th/web/486.php?Qsearch=speech&type=0&lang=2

[4] สิ่งที่ผมชอบใจมาก ๆ เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ คือสิ่งที่เรียกว่า plain English คนเข้าใจไปว่าอ่าน plain English แล้วไม่มีรสชาติ น่าเบื่อ แต่จริง ๆ แล้ว plain English สามารถทำให้คนอ่าน เข้าใจ – ชอบใจ – ประทับใจ ไปพร้อม ๆ กันเลยทีเดียว ผมเองก็พยายามฝึกอยู่เรื่อย ๆให้ตัวเองเขียน plain English ให้ได้ ท่านผู้อ่านลองเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
[74] วิธีเขียนภาษาอังกฤษให้อ่านง่าย ๆ (Plain English)

เนื่องจากผมไม่ต้องเขียนภาษาอังกฤษทุกวันในงานประจำที่ทำอยู่ แต่พอถึงเวลาที่งานเขียนมาถึงก็ถูกคาดหมายว่า จะต้องเขียนได้และไม่แย่กว่าการเขียนครั้งก่อน ๆ ผมจึงต้องฟิตตัวเองอยู่เสมอ วิธีฟิตก็ง่าย ๆ ครับ คือ อ่าน Bangkok Post และเขียนไดอะรี่ทุกวันเป็นภาษาอังกฤษ เปรียบไปก็เหมือนต้องหาลูกปืนมาใส่รังปืนและซ้อมยิงปืนทุกวัน การอ่านภาษาอังกฤษคือการหาลูกปืนมาใส่รังปืน ส่วนการเขียนภาษาอังกฤษทุกวันก็คือการซ้อมยิงปืน ต้องทำทั้ง 2 อย่าง ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ครับ

ในย่อหน้าต้น ๆ ผมพูดว่า การเขียนภาษาอังกฤษ ‘ไม่ง่าย’ แต่ก็ ‘ไม่ยากนัก’ ผมยังยืนยันเหมือนเดิมครับ และเชื่อว่าทุกท่านที่อ่านภาษาอังกฤษได้ย่อมสามารถเขียนภาษาอังกฤษได้ ถ้าวันนี้ท่านเริ่มเขียน และพรุ่งนี้ไม่เลิกเขียน

ประสบการณ์ในการเขียนภาษาอังกฤษของผมมีน้อย ผมจึงอยากได้รับฟังประสบการณ์ของท่านผู้อ่านบ้าง ผมรอทุกท่านอยู่ครับ

พิพัฒน์
pptstn@yahoo.com

Saturday, December 22, 2007

[421] เชิญดาวน์โหลดปฏิทินภาพศัพท์ปีใหม่

สวัสดีครับ

เว็บ http://www.ego4u.com/en/chill-out/calendar2008
เขามีปฏิทินปีใหม่ให้ผู้ชม เป็นปฏิทินศัพท์รายเดือน, 1 เดือนมีศัพท์ 9 คำ, 1 ปี = 108 คำ

calendar-2008
http://home.dsd.go.th/freeenglish/ego4u-calendar-2008.pdf

calendar-2008_cards
http://home.dsd.go.th/freeenglish/ego4u-calendar-2008_cards.pdf

ผมเอาปฏิทิน 2 ปีก่อนของเว็บนี้มาให้ดูด้วย ก็มีศัพท์ให้ดูเช่นกัน
calendar-2007
http://home.dsd.go.th/freeenglish/ego4u-calendar-2007.pdf

calendar-2007 แก้ไขเดือนกุมภาพันธ์
http://home.dsd.go.th/freeenglish/ego4u-calendar-2007_02_corrected_.pdf

calendar-2006
http://home.dsd.go.th/freeenglish/ego4u-calendar-2006.pdf

พิพัฒน์
pptstn@yahoo.com

[420] เชิญดาวน์โหลดไฟล์การ์ตูนฝรั่ง

สวัสดีครับ
ผมเขียนแนะนำการอ่านการ์ตูนฝรั่งไว้ที่ลิงค์นี้
[151] อ่านการ์ตูนฝรั่ง สนุก และไม่ได้ยากดังที่คิด !

บางท่านแจ้งมาว่า ไม่สามารถดาวน์โหลดภาพการ์ตูนจากเว็บที่ให้ไว้ได้ ผมจึงดาวน์โหลดไฟล์ภาพการ์ตูนทั้งหมดมาให้ท่าน เมื่อนำไปลงไว้ในเครื่องคอมฯแล้ว ก็สามารถเปิดอ่านและชมได้โดยไม่ต้องต่อเน็ต

เมื่อท่านดาวน์โหลด และแตกไฟล์เสร็จแล้ว, เมื่อเข้าไปในโฟลเดอร์ ให้ท่านคลิกที่ไฟล์ cartoon_index_page01 ซึ่งเป็นหน้าแรกหรือสารบัญ (index) หลังจากนั้นก็คลิกใช้ได้เหมือนกับท่านกำลังใช้ online แม้ว่าท่านกำลังใช้ offline ก็ตาม


เชิญดาวน์โหลดได้ที่นี่ครับ ขนาดประมาณ 2 MB:
cartoons.zip

พิพัฒน์

pptstn@yahoo.com

[419] ของฝากวันปีใหม่จาก blog – writer

สวัสดีครับ
ผมเริ่มทำ blog นี้ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2549 ตอนนี้ครบ 1 ปีแล้ว ปีใหม่ 2551 นี้ถ้าไม่ติดขัดด้วยเวลา และสุขภาพ ก็ตั้งใจจะทำต่อไปเรื่อย ๆ ผมอยากได้รับคำติติงจากทุกท่าน เพื่อจะได้ปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไป เท่าที่จะทำได้

ขออวยพรให้ทุกท่าน มีชีวิตที่เปี่ยมไปด้วยความดี ความงาม และความสุข ทั้งในปีใหม่ 2551 นี้ และตลอดไป

ผมหาของขวัญปีใหม่เล็ก ๆ น้อย ๆ มาฝากอ่านผู้อ่านข้างล่างนี้ครับ
พิพัฒน์
pptstn@yahoo.com

* * * * *
[1] รวมคำสอนพระสุปฏิบัติ 90 รูป
ผมดาวน์โหลดไฟล์ธรรมะจากเว็บนี้ เป็นคำสอนของพระสุปฏิบัติ 90 รูป ทั่วเมืองไทย ทั้งที่มรณภาพไปแล้ว และที่ยังมีชีวิตอยู่
http://www.dharma-gateway.com/monk-preach-index-page.htm

รายชื่อพระสุปฏิบัติ: http://home.dsd.go.th/freeenglish/90_monk.doc
ดาวน์โหลดคำสอน: http://home.dsd.go.th/freeenglish/90_monks.zip
คลิกอ่านวิธีใช้: http://home.dsd.go.th/freeenglish/HowToUse.doc

[2] โปรแกรมไดอะรี่ iDailyDiary 3.41
ดาวน์โหลดได้ที่ลิงค์นี้
http://www.download.com/iDailyDiary/3000-2124_4-10722601.html?tag=lst-4
หรือที่นี่ http://home.dsd.go.th/freeenglish/iDailyDiary.exe

โปรแกรมนี้ได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้ใช้ download.com ผมลองใช้ดูแล้ว ไม่ผิดหวังจริง ๆ ท่านสามารถใช้โปรแกรมนี้เป็นสถานที่เขียนไดอะรี่ส่วนตัว, สามารถตั้ง password ป้องกัน, สามารถตกแต่งฟอนต์ได้เกือบเท่าเขียนในเอกสาร WORD, เอารูปมาเก็บก็ได้, มี search ค้าหาสิ่งที่ท่านเขียนไว้แล้ว, สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งที่เขียนไปแล้วได้ตามต้องการ, ข้อความและรูปที่ใส่ในไดอะรี่ จะอยู่ในโฟลเดอร์ซึ่งท่านสามารถ save ใส่ handy drive ไปเสียบที่คอมฯตัวอื่นเพื่อเขียนต่อได้ และยังมีสรรพคุณดี ๆ อีกหลายอย่างครับ อ้อ! ท่านจะเขียนเป็นภาษาไทยก็ได้ครับ แต่ถ้าตั้งใจเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ก็จะเป็นเครื่องมืออันวิเศษในการพัฒนา writing skill

[3] WordWeb 5.2 (ดิกชันนารี อังกฤษ - อังกฤษ)
http://www.download.com/WordWeb/3000-2279_4-10777088.html?tag=lst-1
หรือที่นี่ http://home.dsd.go.th/freeenglish/wordweb5.exe

เหตุที่ผมเลือกที่จะแนะนำ ดิกชันนารี อังกฤษ – อังกฤษ WordWeb ก็เพราะว่า ดิกเล่มนี้คุณภาพดีสุด ๆ จริง ๆ เช่น ภาษาอ่านง่าย เนื้อหากว้างขวาง ศัพท์เยอะมาก มีตัวอย่างประโยค คำเหมือน คำคล้าย คำต่าง เป็น talking dictionary ที่ออกเสียงคำศัพท์ ใช้งานง่าย คือเมื่อท่านดาวน์โหลดและติดตั้งไว้ในเครื่องคอมฯเรียบร้อยแล้ว เวลาจะเปิดดูศัพท์ ไม่ว่าจะจากเอกสาร WORD หรือจากหน้าเว็บ ท่านเพียงแต่เปิดโปรแกรมขึ้นมา วางเมาส์บนศัพท์คำนั้น-คลิกขวา-พร้อมกับกด control ก็จะมีหน้าต่างคำแปลปรากฏขึ้นมาทัที ผมเองใช้ wordweb มาหลายปีแล้วครับ ตั้งแต่เวอร์ชั่นแรก ๆ ซึ่งก็มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นมาหลายเวอร์ชั่นแล้ว

[4] LEXiTRON (ดิกชันนารี อังกฤษ – ไทย & ไทย - อังกฤษ)
http://home.dsd.go.th/freeenglish/LEXiTRON.exe

(คลิก: แก้ปัญหา คำแปล ของ Lexitron กลายเป็นเครื่องหมาย "??????")
http://home.dsd.go.th/freeenglish/LEXiTRON_solve_problem.mht

LEXiTRON น่าจะเป็นดิกชันนารี อังกฤษ – ไทย & ไทย – อังกฤษ ฟรี ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ผมถือว่าใช้เป็นดิกสามัญประจำบ้านได้เลยครับ

[5] จ๊ะเอ๋ดิกชั่นนารี อังกฤษ – ไทย (Ja-a Dictionary)
http://www.thaiware.com/main/info.php?id=2026
หรือที่นี่ http://home.dsd.go.th/freeenglish/jaadic2full.zip

เนื่องจากดิก LEXiTRON ไม่มีคำอ่าน ผมจึงขอเพิ่ม จ๊ะเอ๋ดิกชั่นนารี ซึ่งมีคำอ่าน และใช้ฐานข้อมูลที่ต่างจาก LEXiTRON

[6] บทสนทนาในสถานการณ์ต่าง ๆ (MP3 + script)
มีไฟล์ MP3 ของบทสนทนาในสถานการณ์ต่าง ๆ เมื่อดาวน์โหลดลงคอมพิวเตอร์แล้ว สามารถเปิดใช้งานได้โดยไม่ต้องต่อเน็ต (มีทั้งไฟล์ข้อความบทสนทนา และไฟล์เสียง MP3 อยู่ในโฟลเดอร์เดียวกัน)
http://home.dsd.go.th/freeenglish/MP3_conversation.doc
* * * * *

Thursday, December 20, 2007

[418] วิธิค้นให้พบเว็บสอนภาษาอังกฤษที่ท่านต้องการ

สวัสดีครับ
ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะสงสัยว่า ผมใช้วิธีใดในการหาเว็บสอนภาษาอังกฤษมาแนะนำใน Blog นี้
คำตอบก็คือ ใช้หลายวิธีครับ และบางวิธีก็ไม่สามารถนับเป็น ’วิธี’ ได้ คือ ฟลุ๊กครับ ! บางครั้งหาแทบตายก็ไม่เจอเว็บที่ต้องการ แต่บางครั้งฟลุ๊กไปเจอเข้าดีใจแทบตาย เพราะเป็นเว็บดีเอามาก ๆ ดีมากกว่าที่คาดหวังไว้เสียอีก อย่างนี้ก็มีครับ

แต่วิธีมาตรฐานที่ผมใช้บ่อย และอยากจะนำมาคุยกับท่านในวันนี้ ก็คือ ค้นจาก Directory ของ Google และ Yahoo ซึ่ง key word ก็คือ ESL หรือ “English as a Second Language

ผมขออธิบายการใช้ทีละ Directory นะครับ
[1] Google Directory: English as a Second Language

1. เมื่อคลิกเข้าไปแล้ว ที่ใต้หัวข้อ Categories ท่านสามารถคลิกเลือกหมวดย่อย ตามที่ท่านต้องการ ตรงนี้มีประโยชน์มากครับ เพราะท่านสามารถคลิกเจาะจงหมวดหมู่ย่อยที่ท่านต้องการ โดยไม่ต้องไปตระเวณหาจนหมดแรงซะก่อน มี 10 หมวดย่อย ดังนี้ครับ
1.Chats and Forums
2.Directories
3.Employment
4.Examinations
5.Language Schools
6.Online Courses
7.Products and Services
8.Publications
9.Student Resources
10.Teacher Resources

เมื่อท่านคลิกเข้าไปในแต่ละหมวดย่อย ก็มักจะพบหมวดย่อยที่แตกย่อยลงไปอีกภายใต้หมวดย่อยใหญ่นี้ ซึ่งอยู่ใต้แถบ Categories, ก็ให้คลิกเลือกหมวดย่อยที่ย่อยนั้น (แต่บางอันก็มีเพียงหมวดย่อยใหญ่หมวดเดียว) เว็บต่าง ๆ ภายใต้หมวดย่อยที่ย่อยนี้ จะแสดงอยู่ที่ใต้แถบ Web Pages โดยเขาเรียงเว็บให้ตามลำดับความนิยมของผู้ใช้ Google หรือ “Viewing in Google PageRank order ” แต่ถ้าท่านต้องการดูการเรียงเว็บตามตัวอักษรของชื่อเว็บ ก็ให้คลิกที่ “View in alphabetical order

ต่อจากนี้ท่านสามารถอ่านคำบรรยายสั้น ๆ ของแต่ละเว็บ และคลิกเลือกเว็บตามต้องการ

2. ที่ด้านบน ท่านจะห็น Google Search ซึ่งมีประโยชน์มาก คือ เมื่อท่านคลิกเลือก Category ใดก็ตาม ก็สามารถใช้ช่อง Search นี้ค้นหาเรื่องที่ท่านต้องการเฉพาะใน Category นี้เท่านั้น ก็คือว่า บางทีเมื่อท่านเข้าไปในแต่ละเว็บ แล้วคลิกหาเรื่องแต่หาไม่เจอ Search นี้จะช่วยท่านหาอีกแรงหนึ่ง

ผมขอแนะนำว่า ในชั้นต้น ท่านน่าจะลองคลิกเข้าไปดูในทุก Category ว่าข้างในมีเว็บอะไรบ้าง พอรู้ว่า Category ใดถูกใจเรามากที่สุด ก็ค่อยเข้าไปคลิกบ่อย ๆ เฉพาะ Category นั้นในตอนหลังก็ได้

มี Tip เล็ก ๆ น้อย ๆ ในการคลิกลิงค์ - - ถ้าท่านต้องการให้คลิกแล้วขึ้นมาเป็น Window ใหม่ ก็ให้คลิกที่ลิงค์นั้นพร้อมกับกด shift, พอเลิกใช้ก็จะได้สามารถ คลิกclose ได้เลย, ไม้ต้องเสียเวลาคลิก Back

[2] Yahoo Directory: English as a Second Language
ลักษณะก็คล้าย ๆ กับ Google Directory คือ
- เริ่มต้นด้วยการแบ่ง “English as a Second Language” ออกเป็นหลาย ๆ Category ซึ่งมากกว่า Google คือมีถึง 18 Category
- เมื่อคลิกแต่ละ Category ก็จะพบเว็บย่อย โดยเว็บย่อยนั้นจะเรียงตามความนิยม หรือ By Popularity ” แต่ถ้าท่านต้องการดูการเรียงเว็บตามตัวอักษรของชื่อเว็บ ก็ให้คลิกที่ “Alphabetical
- ข้อที่ผมรู้สึกว่า Yahoo สู้ Google ไม่ได้ก็คือเรื่อง Search, เพราะ Search ที่ Yahoo ให้ไว้ตอนบนของหน้า จะค้นหาทั้ง Directory ของ Yahoo, ไม่ได้เจาะจงค้นหาเฉพาะ Category ที่เรากำลังค้น ซึ่งข้อนี้ไม่ได้รู้ใจเราเหมือนคุณ Google
ทั้ง 18 Category ของ Yahoo มีตามข้างล่างนี้ครับ
1.Bilingual Education@
2.Blogs
3.Business English
4.Chats and Forums
5.College and University Departments and Programs
6.Commercial Products@
7.Conferences
8.Employment@
9.IELTS
10.Language Schools
11.Lessons and Tutorials Online
12.Magazines
13.Organizations
14.Student Projects
15.Teaching
16.TOEFL
17.TOEIC
18.Web Directories

จากการค้น 2 Directory ข้างต้นนี้ ทำให้ผมพบเว็บที่ถูกใจมากมาย แต่ถ้าจะเอามาแนะนำทุกเว็บคงไม่ไหวแน่ ปัญหาของผมคือรักพี่เสียดายน้อง แต่จะเอามาแนะนำทั้งน้องทั้งพี่ก็ทำไม่ได้อีก เพราะมันจะท่วมไปหมด ผมหวังว่า ถ้าท่านเข้าไปค้นเอง อาจจะได้เว็บถูกใจมากกว่าที่ผมเอามาแนะนำบ้าง

ก่อนจาก ก็ขอแนะนำสักอีก 1 เว็บที่พบตอนที่เขียนแนะนำหัวข้อนี้
http://www.angelfire.com/yt/efl/

พิพัฒน์
pptstn@yahoo.com

Wednesday, December 19, 2007

[417] เรื่องระหว่างรัชกาลที่ 4 กับแหม่ม Anna

สวัสดีครับ
ผมยังไม่มีเวลาที่จะหาหนังสือ, ละคร, ภาพบนต์ ที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องระหว่างรัชกาลที่ 4 กับแหม่ม Anna มาอ่านหรือดู ซึ่งมีดังต่อไปนี้
1. หนังสือเรื่อง The English Governess at the Siamese Court
2. หนังสือเรื่อง The Romance Of The Harem หรือ Siamese Harem Life
3. หนังสือเรื่อง Anna and the King of Siam
4. ละครเรื่อง The King and I
5. ภาพยนตร์เรื่อง Anna and the King
(ข้อมูล: http://wordpress.com/tag/frbr/feed/)

แต่เฉพาะหนังสือเล่มแรก คือ The English governess at the Siamese court ซึ่งเป็นเรื่องที่แหม่ม Anna เล่าเกี่ยวกับชีวิตช่วง 6 ปีในวังหลวงไทยนั้น มีหนังสือให้ดาวน์โหลดอ่าน ที่นี่ครับ
-http://quod.lib.umich.edu/cgi/t/text/text-idx?c=moa;idno=AFJ1151.0001.001
-http://onlinebooks.library.upenn.edu/webbin/gutbook/lookup?num=8678
-http://www.gutenberg.org/etext/8678

ครั้นผมจะรอให้ตัวเองอ่านจบซะก่อนแล้วค่อยเอามาเล่า ก็ไม่รู้ว่าอีกเมื่อไรจะมีเวลาอ่านจบ เอาอย่างนี้แล้วกันครับ ผมให้ลิงค์หนังสือไว้แล้ว ท่านใดอ่านจบ ช่วยเขียนมาเล่าหน่อยแล้วกันครับ ขอบคุณมากครับ

พิพัฒน์
pptstn@yahoo.com

[416] หนังสืออ่านเล่น ดีและฟรี มีมากมายให้เลือก

สวัสดีครับ
การอ่านหนังสือนอกจากจะให้ประโยชน์มากมายแล้วยังให้ความสุขอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือภาษาอังกฤษ
แต่..... แต่.... มันสำคัญตรง “แต่” นี่แหละครับ แต่......
- ต้องเป็นเรื่องที่เราชอบ อ่านแล้วเพลิน สนุก
- ต้องไม่ยากเกินไป
- ต้องไม่ยาวเกินไป ถ้าเราไม่มีเวลาอ่านยาว ๆ
- และจะดียิ่งขึ้น ถ้าไม่ต้องเสียเงินซื้อหนังสือที่จะอ่าน แหม ก็เสียดายตังค์นี่ครับ ตอนที่ไปเที่ยวงานสัปดาห์หนังสือ หลายครั้งผมเจอหนังสือนิยายหรือเรื่องอ่านเล่นที่สนุก แต่ไม่อยากควักเงินซื้อ ยิ่งหนังสือที่มีภาพสวย ๆ ยิ่งแพง พอนึกว่าจะซื้อไปอ่านครั้งเดียวแล้วเก็บใส่ตู้ ยิ่งไม่อยากซื้อเพราะเสียดายเงิน หนังสือดี ๆ ที่งานสัปดาห์หนังสือก็เลยไม่ค่อยได้กินเงินผม บางคนเขาหาว่าผมขี้เหนียว
ถ้าใครอยู่ชมรม ‘คนชอบของฟรี’ เช่นเดียวกับผม เชิญไปที่ลิงค์ข้างล่างนี้ครับ มีให้เลือกมากพอสมควร ทั้ง ดี และฟรี ครับ ลองเลือกดูซีครับ ผมเชื่อว่าต้องมีอย่างน้อย 1 เล่มที่ท่านชอบ, หรือลูกศิษย์ของท่านชอบ, หรือลูกของท่านชอบ - - ชอบอ่านเอง หรือชอบให้ท่านอ่านกับเขา
http://younglearners.eslreading.org/
http://www.eslreading.org/
http://www.ohiou.edu/Esl/english/reading/activities.html

สำหรับเด็กและวัยรุ่น และท่านที่ชอบเรื่องเบา ๆ
คลิก Online Stories และ Electronic Literature

พิพัฒน์
pptstn@yahoo.com

[415] รวมหลาย 'พจนานุกรม' ในห้องสมุด sanook.com

สวัสดีครับ

ห้องสมุด sanook.com มีหลากหลาย 'พจนานุกรม' ให้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ แต่ละเล่ม ดีและมีประโยชน์ทั้งนั้น ดังนี้ครับ

[1] แปลภาษา ไทย-ไทย
พจนานุกรม ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน
พจนานุกรม ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร
ศัพท์แสลง

[2] แปลภาษา ไทย-อังฤษ (Talking Dict)
แปลภาษาไทย-อังกฤษ อ. สอ เสถบุตร

[3] แปลภาษา อังกฤษ-ไทย (Talking Dict)
พจนานุกรมแปล อังกฤษ-ไทย อ. สอ เสถบุตร

[4] ราชาศัพท์
คำราชาศัพท์

[5] ศัพท์บัญญัติวิชาการ
คำศัพท์คอมพิวเตอร์
ภาพปลาและสัตว์น้ำไทย กรมประมง
ตารางธาตุ

[6] ข้อมูลจังหวัด ประเทศ
ข้อมูลจังหวัดประเทศไทย
ข้อมูลประเทศ

พิพัฒน์
pptstn@yahoo.com

[414] มาหัวเราะกับ Random Funny Jokes

เพิ่ม 26 ธค 50: เรื่องนี้ทะลึ่งเล็กน้อย อย่าคิดมาก อ่านสนุก ๆ แล้วกันนะครับ
http://home.dsd.go.th/freeenglish/TheBET.pps

สวัสดีครับ
เว็บที่ผมขอแนะนำข้างล่างนี้ ชื่อ Random Funny Jokes

เมื่ออ่านจบแต่ละเรื่อง และคลิก Refresh ก็จะมีเรื่องใหม่ให้อ่าน

ผมลองอ่านทดสอบดูแล้วหลายเรื่องเพื่อให้แน่ใจว่า ไม่เอาของเสียมาให้ท่านผู้อ่าน

ผลการอ่านพบว่า
1. มีเรื่องขำ ๆ คุ้มค่ากับการอ่านแทบจะทุกเรื่องเลยครับ
2. บางเรื่องที่อ่านแล้วไม่รู้เรื่องก็ไม่ขำ ที่ไม่รู้เรื่องน่าจะมาจาก 2 สาเหตุคือ ไม่เข้าใจศัพท์-สำนวน, และไม่เข้าใจวัฒนธรรมหรือ sense บางอย่างของฝรั่ง ก็เลยไม่ขำ แต่มีไม่กี่เรื่องหรอกครับ
3. เรื่องบางเรื่องขำได้ช้า หรืออ่านตั้งนานเพิ่งจะขำ แต่พอขำก็ขำได้นาน

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขอสรุปว่า อยากชวนให้ทุกท่านอ่าน Random Funny Jokes เว็บนี้ เพราะได้ทั้ง sanook และ reading skill ครับ
http://www.randomfunnyjokes.com/

ถ้าต้องการดิก ใช้ข้างล่างนี้ครับ








พิพัฒน์
pptstn@yahoo.com

Tuesday, December 18, 2007

[413]‘ตัวช่วย’แปลอังกฤษเป็นไทยทั้งหน้า มีหรือเปล่า?

สวัสดีครับ
ถ้าถามว่า ‘ตัวช่วย’ แปลอังกฤษเป็นไทยทั้งหน้า มีหรือเปล่า?

ขอตอบว่า เท่าที่ผมรู้ก็มีอยู่เหมือนกันครับ มีทั้งที่เป็นโปรแกรมฟรีให้เราดาวน์โหลดไปติดตั้งในคอมฯเพื่อใช้งาน และที่เป็นบริการฟรีแปลให้ทาง online แต่คุณภาพไม่ค่อยน่าพอใจครับ ผมเคยคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้บ้าง ที่ลิงค์นี้:
[109] โปรแกรมแปลอังกฤษเป็นไทย ฟรี !

จริง ๆ แล้วในอินเตอร์เน็ตนี้ก็มีบริการแปลฟรีเช่นนี้อยู่เยอะ เช่นที่ 2 เว็บนี้
http://babelfish.altavista.com/
http://www.systransoft.com/
เขามีบริการแปลไป – มา ระหว่างภาษาอังกฤษกับอีกหลายภาษา

ถ้าจะให้ผมเดา เครื่องมือแปลภาษาเช่นนี้จะทำได้ง่าย ถ้าเป็นภาษาตระกูลเดียวกัน มีรากเดียวกัน คือ
1)ใช้ศัพท์แทนกันได้เป็นส่วนใหญ่ เช่น สมมุติว่าศัพท์ตัวหนึ่ง มี 5 ความหมายในภาษา ก. ก็มี 5 ความหมายในภาษา ข. ตอนแปลก็เอาคำแทนคำได้เลย
2)โครงสร้างของประโยคคล้าย ๆ กัน เช่น ถ้าภาษา ก. พูดว่า ‘เธอสวยมาก’ แต่ภาษา ข. พูดว่า ‘เธอเป็นมากสวย (You are very beautiful)’ อย่างนี้ยิ่งแปลยิ่งงง

การที่เครื่องมือแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยทำได้ยาก ส่วนหนึ่งก็คงเป็นเพราะสาเหตุข้างต้น เช่น
XX- คำว่า take ในภาษาอังกฤษมีสัก 50 ความหมาย โปรแกรมแปลจะต้องฉลาดมาก ๆ เลยถึงจะรู้ว่ามันน่าจะเป็นคำว่าอะไรในภาษาไทย
XX- โครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษ ถ้าเป็น simple sentence โปรแกรมที่สร้างขึ้นมาก็คงพอจะแปลไหว แต่ถ้าเป็น compound sentence ก็เริ่มหืดขึ้นคอ ถ้าถึงขั้น complex sentence ล่ะก็ จะแปลให้ถูกไม่ต้องถึงขั้นสละสลวยหรอกครับ ก็ยากพอ ๆ กับทำบันได – หาที่พาด – และปืนขึ้นสู่สรวงสวรรค์ ผมว่าทำไม่สำเร็จหรอกครับ แต่ถ้าใครทำได้ ผมขอไว้งาม ๆ 1 ที

* * * * *

เว็บที่ผมจะแนะนำในวันนี้ให้บริการแปลทั้งหน้าเช่นกันครับ แต่ไม่ใช่แปลประโยคต่อประโยค ทว่าเป็นการแปลคำต่อคำ เปรียบไปก็เหมือนท่านกำลังอ่านตำราวิชาการภาษาอังกฤษทีละหน้า ถ้าไม่รู้คำสำคัญคำใดท่านก็คงต้องเปิดดิก ไม่รู้ 10 คำก็ต้องเปิดดิก 10 ครั้ง แต่สิ่งที่เว็บวันนี้จะบรรณาการให้ก็คือ ท่าน copy URL ของหน้าเว็บที่ท่านกำลังอ่าน มา paste ลงในช่องของเว็บที่ให้บริการแปลนี้ พอดาวน์โหลดเสร็จ ก็เหมือนมีคนคอยบอกศัพท์ทุกคำที่ท่านต้องการทราบ พูดอย่างนี้อาจจะเห็นภาพไม่ชัด ลองทำดูจริง ๆ ดีกว่าครับ

เว็บที่ 1: แปลศัพท์อังกฤษเป็นไทย
เว็บที่ให้บริการ:
http://dict.longdo.com/
ยกตัวอย่าง ท่านต้องการแปล หน้าแรกของข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์รายวัน Bangkok Post ซึ่ง URL คือ http://www.bangkokpost.com/News/index.php
ก็ให้ท่าน
1. ไปที่ http://dict.longdo.com/ และ copy URL http://www.bangkokpost.com/News/index.php นำไป paste ในช่องสีชมพูซ้ายมือ ใต้ข้อความ “ใส่คำที่ต้องการค้นหาหรือ URL สำหรับบริการ PopThai
2. ที่ช่อง “เลือกบริการ” ให้เลือก PopThai(URL)
3. คลิก Submit
4. จะปรากฏหน้า Bangkok Post ใหม่– เมื่อท่านต้องการทราบความหมายของศัพท์คำใด ก็เพียงเอาเมาส์ไปวางบนศัพท์คำนั้น ก็จะปรากฏหน้าต่างแสดงคำแปลทันที (ลดขนาดฟอนต์ลงนิด อาจจะดูได้ง่ายขึ้น)
5. หรือว่าท่านจะ copy ข้อความทั้งย่อหน้า หรือทั้งหน้า มา paste ในช่อง ตามข้อ 1 ก็ได้ แต่ก่อน paste ต้องคลิก “ขยายขนาดเพื่อใส่ข้อความหลายบรรทัด” ซะก่อน ) เว็บนี้ก็จะแปลข้อความที่ท่าน paste ในลักษณะเดียวกัน
ข่าวดีที่ขอบอก: ท่านสามารถ save ข้อความพร้อมคำศัพท์แปล เพื่อเอาไว้ดูอีกโดยไม่ต้องต่อเน็ต

เว็บที่ 2: แปลศัพท์อังกฤษเป็นอังกฤษ
เว็บที่ให้บริการ: http://www.voycabulary.com/
ยกตัวอย่างเดิม ท่านต้องการแปล หน้าแรกของข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์รายวัน Bangkok Post ซึ่ง URL คือ
http://www.bangkokpost.com/News/index.php
ก็ให้ท่าน
1. ไปที่ http://www.voycabulary.com/ และ copy URL http://www.bangkokpost.com/News/index.php นำไป paste ในช่องที่เขียนไว้ว่า http:// ตอนที่ท่าน paste, ให้ต่อด้วย www. เพราะเขามี http:// ให้แล้ว
2. ที่ช่องขวามือของหน้าให้ท่านคลิกเพื่อ highlight เลือก Dict อังกฤษ – อังกฤษ เล่มที่ท่านต้องการจะใช้เป็นฐานในการแปล (โดยส่วนตัวผมชอบ Merriam - Webster)
3. เสร็จแล้วคลิก Proceed ใต้ช่อง Results shown:
4.
จะกลับไปยังหน้า Bangkok Post – เมื่อท่านต้องการทราบความหมายของศัพท์คำใด ก็คลิกที่ตัวนั้น หน้าต่างที่แสดงคำแปลศัพท์จากดิกเล่มที่ท่านเลือกก็จะปรากฏทันที
5. หรือว่าท่านจะ copy ข้อความทั้งย่อหน้า หรือทั้งหน้า มา paste ในช่อง http:// ก็ได้ (ต้อง delete http:// ทิ้งออกไปซะก่อน ) เว็บนี้ก็จะแปลข้อความที่ท่าน paste ในลักษณะเดียวกัน

ผมไม่แน่ใจว่า ผมอธิบายชวนงงตรงไหนหรือเปล่า ลองทำดูนะครับ ขอให้ท่านได้รับประโยชน์จากทั้ง 2 เว็บนี้อย่างเต็มที่ และขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนในการพัฒนาเว็บทั้ง 2 นี้ด้วยครับ

เพิ่ม อีก 1 เว็บ (19 ธค 50)
1. ไปที่ http://www.esldesk.com/esl-reading/esl-reader.aspx
2. พิมพ์ หรือ copy ข้อความไป paste ในช่อง
3. คลิก Read Text
4. คลิกศัพท์ตัวที่ต้องการทราบความหมาย (และเมื่อหน้าต่างปรากฏ, ถ้าต้องการฟังเสียงคำอ่าน ให้คลิกที่รูปลำโพง)

พิพัฒน์
pptstn@yahoo.com